วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานพระเครื่อง กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ ทุ่งเศรษฐี
            พระตระกูลทุ่งเศรษฐีคือ สุดยอดของพระเครื่องที่มีชื่อลือเลื่องที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร จัดเป็นเพชรน้ำเอกที่ทุกคนปรารถนาอยากจะได้ไว้ครอบครอง กล่าวกันว่าใครที่มีพระเครื่องทุ่งเศรษฐี ไว้เป็นสมบัติก็เหมือนผู้นั้นมีแก้วสารพัดนึก สุดยอดปรารถนาทีเดียวเพราะเป็นที่ได้รับความเชื่อ ความนิยม ปรากฏเด่นชัดกับผู้เป็นเจ้าของที่ปฏิบัติถูกต้อง ตามพิธีการมาแล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับความนิยม ความเมตตาสูง จะประสบโชคดี มีความก้าวหน้าในชีวิตจะป้องกันภยันตราย เภทภัยทั้งปวงให้หนักเป็นเบาหรือมลายหายไป ศัตรูจักเลิกคิดทำร้ายกลายเป็นเมตตาสงสาร ไม่ฝืดเคืองเรื่องเงินทองจะมั่งมีศรีสุขตามคำจารึกของคนโบราณว่า ใครมีกูไว้ไม่จน ความเชื่อ ความศรัทธานิยมเช่นนี้ทำให้ประชาชนเสาะแสวงหาเพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิต และอื่น ๆ ตามคำเล่าลือจนกระทั่งหากได้ยินชื่อเมืองกำแพงเพชรเมื่อไร ก็ให้คิดถึง พระทุ่งเศรษฐี
            พระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี ประกอบด้วยพระเครื่องหลายรูปแบบ
แบบพิมพ์ ทั้งสี่อิริยาบถ คือ ยืน เขย่ง นั่ง นอน แต่พระที่อยู่ในความนิยม รู้จักแพร่หลายทั่วเมืองไทย เป็นหนึ่งในเบญจภาคี คือ พระซุ้มกอ ซึ่งเป็นพระที่อยู่ในซุ้มอักขระหัวใจคาถา อุ นะ อุ ตามตำนานที่เล่าไว้ในหนังสือเสด็จประพาสต้นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ...พระศรีธรรมาโศกราชทรงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวม พระบรมธาตุมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ 84,000 องค์ ครั้งนั้นฤาษีผู้มีฤทธิ์คาถาอาคมแก่กล้า 11 ตน โดยมีฤาษีพิลาไลย ฤาษีตาไฟ และฤาษีตาวัว เป็นประธานแห่งฤาษีทั้งหลายสร้างพระพิมพ์ถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาและอุปการศาสนาถวายพระศรีธรรมาโศกราช
            แต่จากหลักฐาน คำบอกเล่าและที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่สามกล่าวว่า ผู้สร้างพระซุ้มกอเป็นฤาษีผู้มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง 11 ตนตรงตามตำนานแต่สร้างถวายเป็น พุทธบูชาบรรจุไว้ในเจดีย์พระธาตุทุ่งเศรษฐีในโอกาสสร้างเจดีย์ถวายพระมหากษัตริย์สมัยนั้นคือ เจ้าพระยาลิไท ในสมัยกรุงสุโขทัย
            ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรร่วมกับอาจารย์จิต  บัวบุศย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง ได้ให้คำอธิบายว่าเป็นลักษณะ ลัทธิมณญาณ ซึ่งอยู่ร่วม พ.ศ. 1600-1800 เป็นยุคที่มีการสร้างพระเครื่องรางของขลังตามพิธีกรรมไสยศาสตร์เร้นลับประกอบด้วยเวทมนต์คาถาอาคมของขลังและเคร่งครัดมาก และเชื่อว่าเป็นพระที่อยู่ในยุคสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น จากหลักฐาน พระเครื่องที่พบในเจดีย์มีลักษณะเป็นพุทธปฏิมากร ยุคกรุงสุโขทัยตอนต้น และสมัยเชียงแสนปะปนอยู่จำนวนมาก
            พระซุ้มกอมีหลายขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน (พิมพ์คะแนนนั้นทำเพื่อนับจำนวนหนึ่งในหนึ่งร้อย หรือหนึ่งในพัน)
            พระซุ้มกอมีหลายประเภท หลายสี มีทั้งสีแดง สีดำ สีขาวและสีเขียว ชนิดซุ้มกอดำ เป็นพระที่ไม่เผา องค์พระสร้างด้วย ใส้ในของเม็ดมะค่าผสมปูนกินหมาก ผงอิทธิเจดีย์ เกสรดอกไม้ 108 ชนิด  เชื่อกันว่า พระซุ้มกอดำมีอิทธิฤทธิ์ มีอานุภาพ ทางเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันสูงมาก (ส่วนพระซุ้มกอสีแดง สีขาวและสีเขียว เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์อานุภาพสูงทางเมตตามหานิยม)
ลักษณะองค์พระซุ้มกอดำเป็นพระนั่งสมาธิวางบนตัก ในลักษณะอมิตตพุทธ
(คล้ายพระพุทธรูปญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ส่วนพระซุ้มกอขาวและเขียว เป็นพระที่สร้างลักษณะไม่เผามีรักทาทั้งองค์ ต่างกับซุ้มกอแดงที่สร้างลักษณะเดียวกันแล้วนำไปเผาซัดด้วยว่านผงอีกครั้งองค์พระมีสีงดงามมันปูแข็งแกร่ง บางองค์ยังมีว่านติดอยู่ มีความแกร่งคงทนสภาพกว่าสีดำ สีขาว และสีเขียว พระซุ้มกอแดง เท่าที่พบส่วนมากจะมีหัวใจคาถาพุทธคุณ อุ นะ อุ อยู่พบส่วนน้อยที่ไม่มีลวดลายคาถาโดยพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวบ้านไร่ปากคลองกลาง ทั้งพระซุ้มกอดำ
ซุ้มกอแดง ซุ้มกอขาวและซุ้มกอเขียว ยังมีหลักฐานให้ผู้สนใจศึกษาได้
            การค้นพบพระซุ้มกอ จากหลักฐานและคำบอกเล่า แบ่งออกเป็นสองระยะคือ ในระยะแรกเมื่อครั้ง สมเด็จ    พุฒาจารย์(โต) ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร ได้พบศิลาจารึกแผ่นที่ 3 ที่วัดเสด็จ (ปัจจุบันศิลาจารึกอยู่ที่กรมศิลปากร) ซึ่งมีผู้นำมาจากวัดพระบรมธาตุ ซึ่งมีข้อความว่าที่ฝั่งตรงข้ามเมืองชากังราวมีเจดีย์  3  องค์  บรรจุพระบรมธาตุสารีริกธาตุซึ่งเจ้าพระยาลิไทให้
ราชบุรุษไปอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกาทวีป เมื่อวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา พ.ศ. 1900 ขณะนั้น เจ้าเมืองกำแพงเพชร คือ พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย)
ชักชวนประชาชนไปถางบริเวณดังกล่าวและได้พบพระบรมธาตุจำลอง จำนวน 3 องค์ ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักศิลา เมื่อทำการถางป่ารื้อส่วนที่ชำรุดออกก็พบ
พระเครื่องจำนวนมาก  ในจำนวนพระเครื่องดังกล่าวปรากฏว่ามีพระซุ้มกอสีดำ สีแดง สีขาวและสีเขียว (ขนาดพิมพ์ใหญ่อย่างเดียว) เป็นพระลักษณะนั่งสมาธิบัวด้านล่างเป็นบัวแบบสุโขทัยไม่มีลวดลายหัวใจ อุ นะ อุ มือวางประสาน บนตักแบบอมิตพุทธนอกจากนั้นพบใบลานเงินจารึก  พิธีการสร้างพระซุ้มกอคาถาหัวใจการสร้างพระและอื่น ๆ อีก ใบลานเงินนี้เล่ากันว่า สมเด็จพุฒาจารย์(โต)
นำไปสร้าง พระสมเด็จวัดระฆังที่โด่งดังทั่วเมืองไทยในภายหลังและได้เป็น
หนึ่งในเบญจภาคี เช่นเดียวกับ พระซุ้มกอระหว่างนั้นพระยาตะก่า พ่อค้าชาวกะเหรี่ยง ซึ่งทำไม้กับบริษัทบอเนียว จำกัด รับอาสาบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ ในหนังสือเสด็จประพาสต้น กล่าวว่าพระยากำแพง (น้อย) ได้จัดการค้นพบวัดและเจดีย์ 3 องค์ ตามอักษรโบราณในแผ่นศิลาจารึกจึงป่าร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางป่าปฏิสังขรณ์ขึ้น พระยากำแพง (อ่อง) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ฉซพอกะเหรี่ยง (ราษฎรเรียกพญาตะก่า) ขออนุญาตรื้อเจดีย์ 3 องค์ ทำใหม่เป็นองค์เดียว เป็นลักษณะเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพญาตะก่าตายก่อน น้องชายชื่อพะโป้ (มาทำป่าไม้) มาปฏิสังขรณ์ต่อ ยกฉัตรยอดซึ่งนำมาจากเมืองมรแหม่ง
เมื่อทำการรื้อเพื่อดำเนินการซ่อมจึงได้พบพระเครื่องอิริยาบถต่าง ๆ อีกมากมายพระซุ้มกอดำ พระซุ้มกอขาว และซุ้มกอเขียวพบที่วัดนี้ เจดีย์ 3 องค์ กลายเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เล็กทั้ง 3 องค์ไว้เป็นองค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุ ในวัดพระบรมธาตุปัจจุบันซึ่เป็นเจดีย์ ที่ชาวกำแพงเพชรถือเป็น โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา นับว่าเป็นเจดีย์ที่งดงามเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (ฝั่งนครชุม)  ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
            การค้นพบในระยะที่สอง ประมาร ฑ.ศ. 2490 โดยชางบ้านเขตทุ่งเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ นายนาค  บุญปรี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้พบพระซุ้มกอจำนวนมากมาย นายนาคได้เล่าว่า มีชีผ้าขาวชรามากท่านหนึ่งได้มาเล่าให้ฟังว่าที่บริเวณกอไผ่ใกล้ ๆ เจดีย์กรุบ้านเศรษฐีด้านเหนือนั้น ปู่ของชีผ้าขาวเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นที่ ๆ ยอดเจดีย์หักฟาดลงมา นายนาคจึงไปค้นหาที่กอไผ่ตามคำบอกเล่าก็พบพระซุ้มกอไฝ่ตามคำบอกเล่า ก็พบพระซุ้มกอมากมายทั้งบนดินและใต้ดินลึกไม่เกิน 2 วา เป็นพระลักษณะเชียงแสนอยู่ในลวดลายซุ้มอักขระ อุ นะ อุ ฐานล่างมีบัว 5 บัว แบบเชียงแสน พระพักต์และสีเนื้อ งดงามมากจากนั้นพระซุ้มกอเริ่มโด่งดังเป็นที่ สนใจของ ประชาชนทั่วไป ทุกคนไฝ่ฝันอยากจะได้เป็นเจ้าของ อยากได้สมบัติที่เชื่อกันว่า ล้ำค่ากว่าเงินทองทรัพย์สินอื่นใด และในไม่ช้า กอไผ่หนาทึบแห่งนั้นก็ราบหายวับไปรวมทั้ง เจดีย์น้อยใหญ่ บริเวณทุ่งเศรษฐี ถูกลักขุดพังทลายไปด้วยสุดที่ กรมศิลปากร จะป้องกันได้ พระที่ปรากฏขึ้นมามีทั้งสมบูรณ์และหักพังเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทุกชิ้นส่วนล้วนมีค่าเป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้น ทุกคนมีความเชื่อกันว่า แม้เศษหักของพระซุ้มกอ ก็ยังทรงอานุภาพจาก อิทธิฤทธิ์ของผง อิทธิเจดีย์ ซึ่งเวทมนต์คาถาอาคมขลังกำกับในการสร้าง ของ พระฤาษียุคนั้นทั้งนี้เกจิอาจารย์ชื่อดัง หลายท่านได้ทดสอบปลุกพระทดสอบอานุภาพก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ายังทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพ  เมตตามหานิยมสูงยิ่ง พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี กลายเป็นวัตถุมงคลที่มีค่าหายาก บูชากันด้วยเงินราคาสูงมากและของเทียมเลียนแบบก็มีตามกันมากมายคล้ายของจริงดูกันยากยิ่ง ยกเว้นจะทดลองปลุกจากพระเกจิอาจารย์ หรือจากผู้เชี่ยวชาญการดูเนื้อพระและดูศิลปะประกอบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น