วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระซุ้มกอกำแพงเพชร แม่แบบของพระสมเด็จวัดระฆัง



หนึ่งในเบญจภาคีที่ผู้คนแสวงหาในราคาหลักล้านคือพระซุ้มกอ กำแพงเพชร หรือพระกำแพงซุ้มกอ ซีงเป็นที่เลื่องลือกันว่า “ใครมีแล้วไม่จน) แต่ถ้าซื้อกันเป็นล้าน ๆ ก็ต้องจนแน่ ๆ ยกเว้นมหาเศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้จึงไม่จน แต่คนจน ๆ หรือรวยยังไม่พอก็แสวงหาพระซุ้มกอ หรือกลุ่มพระเบญจภาคี หวังว่าโชคดีมีมหาเศรษฐีมาขอซื้อ แต่จะมีเศรษฐีไหนเล่ามาขอซื้อ บรรดาท่านเศรษฐีเขาเชื่อเซียนพระ เวลาเขาหาของแพงเขาก็ไปบอกเซียนพระหาให้ หรือไม่ก็ไปประมูลในงานประกวดพระเครื่องที่บรรดาเซียนพระเขาจัดขึ้น ถึงยามตกทุกข์ได้ยาก เอาไปขายคืน เซียนพระเจ้าเดิมส่องไปส่องมา บอกว่าของเก๊ เฮ้อ...กรรม
แต่เซียนพระก็มีทั้งดีทั้งเลว เหมือนกันทุกวงการ ขอให้รู้จักเลือกสรร แต่ถ้าศึกษาดี ๆ ตาถึง ก็ไม่จำเป็นต้องหาของแพงจากเซียนพระ ไปหาส่องดูตามแผงพระต่างจังหวัด จะได้ของดี เพราะของที่อยู่กับแผงพระต่างจังหวัดมักจะมาจากพระบ้าน บนหิ้งบูชา ที่ตกทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย ลูกหลานเหลนโหลนไม่รู้คุณค่า หรือติดการพนัน ติดยา ติดเกมส์ ก็แอบเอามาขายให้เจ้าของแผงพระ และเจ้าของแผงพระบ้านนอกก็ไม่มีความรู้อะไรมาก ได้มาก็ปล่อยไปในราคาหลักร้อยหลักพัน แล้วแต่จะตกลงกันตามความพอใจ ผมหาพระก็ใช้วิธีนี้ ได้พระดี ๆ มามากมายในราคาไม่แพง
พระตระกูลกำแพงเพชรนี่มีมากมาย หลากหลายพิมพ์ หลากหลายตระกูล หลากหลายกรุ เป็นจังหวัดที่มีพระเครื่องตามกรุมากที่สุด เพราะเป็นเมืองโบราณ ที่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ยุคสุโขทัยให้ความสนใจพระพุทธศาสนามากที่สุด จึงสร้างวัดและสร้างพระบรรจุไว้ตามกรุมากที่สุด ตามความเชื่อว่า เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา เป็นการต่ออายุของตนเอง เป็นการสร้างบารมีให้ตนเอง เป็นการสร้างทางสวรร์ให้ตนเอง
คนสมัยโบราณคงไม่ได้คิดสร้างพระมาพกแขวนประจำตัว เวลาออกศึกก็มักใช้คาถาอาคม ผ้ายันต์ สักยันต์ลายเต็มตัว หรือหาเหล็กไหลไพลดำตามธรรมชาติ แต่พระเครื่องท่านสร้างบรรจุตามเจดีย์เอาบุญหนุนส่งขึ้นสวรรค์ หรือสร้างไว้ป้องกันบ้านเมือง แม้ตามบ้านก็ไม่ได้มีพระพุทธรูป ไม่ได้มีหิ้งพระ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธรูปต้องอยู่ในโบสถ์วิหาร ใครนำมาไว้ในบ้านเป็นขึด ผู้ที่มีพระพุทธรูป หรือพระเครื่องไว้ในบ้านหรือประจำตัว มีแต่เจ้าฟ้ามหาเกษัตริย์เท่านั้น เพราะเป็นของสูง การแขวนพระพกพระ และแสวงหาพระเครื่องมาพกพาเพิ่งเกิดขึ้นในยุครัตนโกสินทร์นี่เอง
แม้พระกำแพงซุ้มกอก็สร้างบรรจุกรุไว้ป้องกันบ้านเมืองและเสริมสร้างบุญบารมีของกษัตริย์และราชวงศ์ เวลาสร้างก็มักจะสร้างพร้อมกับพระประธานในโบสถ์วิหาร หรือพระเจดีย์ เมื่อเสร็จก็ทำพิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดาอารักษ์ ฝ่ายพระสงฆ์ก็สวดมนต์ภาวนา 7 วัน 7 คืน จึงเสร็จพิธี แล้วนำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในกรุ ซึ่งอาจเป็นเจดีย์ หรือใต้พระประธาน หรือในพระอุระของพระประธาน เป็นต้น การที่มีการขุดค้นพบตรงนั้นตรงนี้ แสดงว่าสถานที่แห่งนั้นอาจเป็นเจดีย์เก่า หรืออุโบสเก่า
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ มีด้วยกันหลายพิมพ์คือ

    1. พิมพ์ใหญ่ แยกเป็น 2 ชนิดคือ แบบมีลายกนก และไม่มีลายกนก

    2. พิมพ์กลาง

    3. พิมพ์เล็ก

    4. พิมพ์เล็กพัดโบก

    5. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ






เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้






    1. เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด

    2. เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน

    3. เนื้อชินเงิน





สองเนื้อหลัง คือเนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก






พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น