วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานพระเครื่อง กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ ทุ่งเศรษฐี
            พระตระกูลทุ่งเศรษฐีคือ สุดยอดของพระเครื่องที่มีชื่อลือเลื่องที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร จัดเป็นเพชรน้ำเอกที่ทุกคนปรารถนาอยากจะได้ไว้ครอบครอง กล่าวกันว่าใครที่มีพระเครื่องทุ่งเศรษฐี ไว้เป็นสมบัติก็เหมือนผู้นั้นมีแก้วสารพัดนึก สุดยอดปรารถนาทีเดียวเพราะเป็นที่ได้รับความเชื่อ ความนิยม ปรากฏเด่นชัดกับผู้เป็นเจ้าของที่ปฏิบัติถูกต้อง ตามพิธีการมาแล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับความนิยม ความเมตตาสูง จะประสบโชคดี มีความก้าวหน้าในชีวิตจะป้องกันภยันตราย เภทภัยทั้งปวงให้หนักเป็นเบาหรือมลายหายไป ศัตรูจักเลิกคิดทำร้ายกลายเป็นเมตตาสงสาร ไม่ฝืดเคืองเรื่องเงินทองจะมั่งมีศรีสุขตามคำจารึกของคนโบราณว่า ใครมีกูไว้ไม่จน ความเชื่อ ความศรัทธานิยมเช่นนี้ทำให้ประชาชนเสาะแสวงหาเพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิต และอื่น ๆ ตามคำเล่าลือจนกระทั่งหากได้ยินชื่อเมืองกำแพงเพชรเมื่อไร ก็ให้คิดถึง พระทุ่งเศรษฐี
            พระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี ประกอบด้วยพระเครื่องหลายรูปแบบ
แบบพิมพ์ ทั้งสี่อิริยาบถ คือ ยืน เขย่ง นั่ง นอน แต่พระที่อยู่ในความนิยม รู้จักแพร่หลายทั่วเมืองไทย เป็นหนึ่งในเบญจภาคี คือ พระซุ้มกอ ซึ่งเป็นพระที่อยู่ในซุ้มอักขระหัวใจคาถา อุ นะ อุ ตามตำนานที่เล่าไว้ในหนังสือเสด็จประพาสต้นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ...พระศรีธรรมาโศกราชทรงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวม พระบรมธาตุมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ 84,000 องค์ ครั้งนั้นฤาษีผู้มีฤทธิ์คาถาอาคมแก่กล้า 11 ตน โดยมีฤาษีพิลาไลย ฤาษีตาไฟ และฤาษีตาวัว เป็นประธานแห่งฤาษีทั้งหลายสร้างพระพิมพ์ถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาและอุปการศาสนาถวายพระศรีธรรมาโศกราช
            แต่จากหลักฐาน คำบอกเล่าและที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่สามกล่าวว่า ผู้สร้างพระซุ้มกอเป็นฤาษีผู้มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง 11 ตนตรงตามตำนานแต่สร้างถวายเป็น พุทธบูชาบรรจุไว้ในเจดีย์พระธาตุทุ่งเศรษฐีในโอกาสสร้างเจดีย์ถวายพระมหากษัตริย์สมัยนั้นคือ เจ้าพระยาลิไท ในสมัยกรุงสุโขทัย
            ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรร่วมกับอาจารย์จิต  บัวบุศย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง ได้ให้คำอธิบายว่าเป็นลักษณะ ลัทธิมณญาณ ซึ่งอยู่ร่วม พ.ศ. 1600-1800 เป็นยุคที่มีการสร้างพระเครื่องรางของขลังตามพิธีกรรมไสยศาสตร์เร้นลับประกอบด้วยเวทมนต์คาถาอาคมของขลังและเคร่งครัดมาก และเชื่อว่าเป็นพระที่อยู่ในยุคสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น จากหลักฐาน พระเครื่องที่พบในเจดีย์มีลักษณะเป็นพุทธปฏิมากร ยุคกรุงสุโขทัยตอนต้น และสมัยเชียงแสนปะปนอยู่จำนวนมาก
            พระซุ้มกอมีหลายขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน (พิมพ์คะแนนนั้นทำเพื่อนับจำนวนหนึ่งในหนึ่งร้อย หรือหนึ่งในพัน)
            พระซุ้มกอมีหลายประเภท หลายสี มีทั้งสีแดง สีดำ สีขาวและสีเขียว ชนิดซุ้มกอดำ เป็นพระที่ไม่เผา องค์พระสร้างด้วย ใส้ในของเม็ดมะค่าผสมปูนกินหมาก ผงอิทธิเจดีย์ เกสรดอกไม้ 108 ชนิด  เชื่อกันว่า พระซุ้มกอดำมีอิทธิฤทธิ์ มีอานุภาพ ทางเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันสูงมาก (ส่วนพระซุ้มกอสีแดง สีขาวและสีเขียว เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์อานุภาพสูงทางเมตตามหานิยม)
ลักษณะองค์พระซุ้มกอดำเป็นพระนั่งสมาธิวางบนตัก ในลักษณะอมิตตพุทธ
(คล้ายพระพุทธรูปญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ส่วนพระซุ้มกอขาวและเขียว เป็นพระที่สร้างลักษณะไม่เผามีรักทาทั้งองค์ ต่างกับซุ้มกอแดงที่สร้างลักษณะเดียวกันแล้วนำไปเผาซัดด้วยว่านผงอีกครั้งองค์พระมีสีงดงามมันปูแข็งแกร่ง บางองค์ยังมีว่านติดอยู่ มีความแกร่งคงทนสภาพกว่าสีดำ สีขาว และสีเขียว พระซุ้มกอแดง เท่าที่พบส่วนมากจะมีหัวใจคาถาพุทธคุณ อุ นะ อุ อยู่พบส่วนน้อยที่ไม่มีลวดลายคาถาโดยพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวบ้านไร่ปากคลองกลาง ทั้งพระซุ้มกอดำ
ซุ้มกอแดง ซุ้มกอขาวและซุ้มกอเขียว ยังมีหลักฐานให้ผู้สนใจศึกษาได้
            การค้นพบพระซุ้มกอ จากหลักฐานและคำบอกเล่า แบ่งออกเป็นสองระยะคือ ในระยะแรกเมื่อครั้ง สมเด็จ    พุฒาจารย์(โต) ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร ได้พบศิลาจารึกแผ่นที่ 3 ที่วัดเสด็จ (ปัจจุบันศิลาจารึกอยู่ที่กรมศิลปากร) ซึ่งมีผู้นำมาจากวัดพระบรมธาตุ ซึ่งมีข้อความว่าที่ฝั่งตรงข้ามเมืองชากังราวมีเจดีย์  3  องค์  บรรจุพระบรมธาตุสารีริกธาตุซึ่งเจ้าพระยาลิไทให้
ราชบุรุษไปอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกาทวีป เมื่อวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา พ.ศ. 1900 ขณะนั้น เจ้าเมืองกำแพงเพชร คือ พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย)
ชักชวนประชาชนไปถางบริเวณดังกล่าวและได้พบพระบรมธาตุจำลอง จำนวน 3 องค์ ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักศิลา เมื่อทำการถางป่ารื้อส่วนที่ชำรุดออกก็พบ
พระเครื่องจำนวนมาก  ในจำนวนพระเครื่องดังกล่าวปรากฏว่ามีพระซุ้มกอสีดำ สีแดง สีขาวและสีเขียว (ขนาดพิมพ์ใหญ่อย่างเดียว) เป็นพระลักษณะนั่งสมาธิบัวด้านล่างเป็นบัวแบบสุโขทัยไม่มีลวดลายหัวใจ อุ นะ อุ มือวางประสาน บนตักแบบอมิตพุทธนอกจากนั้นพบใบลานเงินจารึก  พิธีการสร้างพระซุ้มกอคาถาหัวใจการสร้างพระและอื่น ๆ อีก ใบลานเงินนี้เล่ากันว่า สมเด็จพุฒาจารย์(โต)
นำไปสร้าง พระสมเด็จวัดระฆังที่โด่งดังทั่วเมืองไทยในภายหลังและได้เป็น
หนึ่งในเบญจภาคี เช่นเดียวกับ พระซุ้มกอระหว่างนั้นพระยาตะก่า พ่อค้าชาวกะเหรี่ยง ซึ่งทำไม้กับบริษัทบอเนียว จำกัด รับอาสาบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ ในหนังสือเสด็จประพาสต้น กล่าวว่าพระยากำแพง (น้อย) ได้จัดการค้นพบวัดและเจดีย์ 3 องค์ ตามอักษรโบราณในแผ่นศิลาจารึกจึงป่าร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางป่าปฏิสังขรณ์ขึ้น พระยากำแพง (อ่อง) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ฉซพอกะเหรี่ยง (ราษฎรเรียกพญาตะก่า) ขออนุญาตรื้อเจดีย์ 3 องค์ ทำใหม่เป็นองค์เดียว เป็นลักษณะเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพญาตะก่าตายก่อน น้องชายชื่อพะโป้ (มาทำป่าไม้) มาปฏิสังขรณ์ต่อ ยกฉัตรยอดซึ่งนำมาจากเมืองมรแหม่ง
เมื่อทำการรื้อเพื่อดำเนินการซ่อมจึงได้พบพระเครื่องอิริยาบถต่าง ๆ อีกมากมายพระซุ้มกอดำ พระซุ้มกอขาว และซุ้มกอเขียวพบที่วัดนี้ เจดีย์ 3 องค์ กลายเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เล็กทั้ง 3 องค์ไว้เป็นองค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุ ในวัดพระบรมธาตุปัจจุบันซึ่เป็นเจดีย์ ที่ชาวกำแพงเพชรถือเป็น โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา นับว่าเป็นเจดีย์ที่งดงามเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (ฝั่งนครชุม)  ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
            การค้นพบในระยะที่สอง ประมาร ฑ.ศ. 2490 โดยชางบ้านเขตทุ่งเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ นายนาค  บุญปรี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้พบพระซุ้มกอจำนวนมากมาย นายนาคได้เล่าว่า มีชีผ้าขาวชรามากท่านหนึ่งได้มาเล่าให้ฟังว่าที่บริเวณกอไผ่ใกล้ ๆ เจดีย์กรุบ้านเศรษฐีด้านเหนือนั้น ปู่ของชีผ้าขาวเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นที่ ๆ ยอดเจดีย์หักฟาดลงมา นายนาคจึงไปค้นหาที่กอไผ่ตามคำบอกเล่าก็พบพระซุ้มกอไฝ่ตามคำบอกเล่า ก็พบพระซุ้มกอมากมายทั้งบนดินและใต้ดินลึกไม่เกิน 2 วา เป็นพระลักษณะเชียงแสนอยู่ในลวดลายซุ้มอักขระ อุ นะ อุ ฐานล่างมีบัว 5 บัว แบบเชียงแสน พระพักต์และสีเนื้อ งดงามมากจากนั้นพระซุ้มกอเริ่มโด่งดังเป็นที่ สนใจของ ประชาชนทั่วไป ทุกคนไฝ่ฝันอยากจะได้เป็นเจ้าของ อยากได้สมบัติที่เชื่อกันว่า ล้ำค่ากว่าเงินทองทรัพย์สินอื่นใด และในไม่ช้า กอไผ่หนาทึบแห่งนั้นก็ราบหายวับไปรวมทั้ง เจดีย์น้อยใหญ่ บริเวณทุ่งเศรษฐี ถูกลักขุดพังทลายไปด้วยสุดที่ กรมศิลปากร จะป้องกันได้ พระที่ปรากฏขึ้นมามีทั้งสมบูรณ์และหักพังเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทุกชิ้นส่วนล้วนมีค่าเป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้น ทุกคนมีความเชื่อกันว่า แม้เศษหักของพระซุ้มกอ ก็ยังทรงอานุภาพจาก อิทธิฤทธิ์ของผง อิทธิเจดีย์ ซึ่งเวทมนต์คาถาอาคมขลังกำกับในการสร้าง ของ พระฤาษียุคนั้นทั้งนี้เกจิอาจารย์ชื่อดัง หลายท่านได้ทดสอบปลุกพระทดสอบอานุภาพก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ายังทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพ  เมตตามหานิยมสูงยิ่ง พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี กลายเป็นวัตถุมงคลที่มีค่าหายาก บูชากันด้วยเงินราคาสูงมากและของเทียมเลียนแบบก็มีตามกันมากมายคล้ายของจริงดูกันยากยิ่ง ยกเว้นจะทดลองปลุกจากพระเกจิอาจารย์ หรือจากผู้เชี่ยวชาญการดูเนื้อพระและดูศิลปะประกอบ


พระซุ้มกอ

พระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีแหล่งกำเนิดมาจากกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชร คือ วัดพระบรมธาตุ วัดพิกุลวัดทุ่งเศรษฐี และวัดซุ้มกอ วัดทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิง เมืองนครชุม ในบริเวณทุ่ง เศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เนื้อดินเผาทั้งหมด มีสีแดง สีดำ และสีเขียว มีทั้งแบบยืนและแบบนั่งพุทธลักษณะเป็นศิลปแบบสุโขทัยยุคต้นมีอายุการสร้างประมาณว่ามากกว่า ๖๐๐ ปี
พระกำแพงทุ่งเศรษฐี พิมพ์นิยมในวงการมีอยู่ ๖ พิมพ์ ด้วยกันคือ
๑. พระลีลาทุ่งเศรษฐีพิมพ์เม็ดขนุน (แบบยืนปางลีลา)
๒. พระลีลาทุ่งเศรษฐีพิมพ์พลูจีบ ( แบบยืนปางลีลา)
๓. พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก ( แบบนั่งปางสมาธิมีลายกนกด้านข้าง)
๔. พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก ( แบบนั่งปางสมาธิไม่มีลายกนกด้านข้าง)
๕. พระซุ้มกอพิมพ์กลาง ( แบบนั่งปางสมาธิมีลายกนกด้านข้าง)
๖. พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ ( แบบนั่งปางสมาธิมีกรอบทรงกลมคล้ายขนมเปี๊ยะ)



พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่

พระซุ้มกอ” จากคำบอกเล่า สร้างโดยฤาษี 3 ตน คือ ฤาษีพิราลัย ฤาษีตาไฟ และฤาษีตาวัว ใช้ว่าน 1000 ชนิด เกสรนานาดอกไม้ 1000 ชนิด นำเอาผงว่านมาปั้นเป็นก้อน คลุกเคล้าผสมผงเกสรดอกไม้บด ดินบด พิมพ์เป็นพระซุ้มกอ นำไปเผาไฟด้วยไม้มงคล พระซุ้มกอ มีกรุต่าง ๆ ได้แก่ กรุวัดพิกุล กรุฤาษี กรุทุ่งเศรษฐี กรุซุ้มกอมี 5 พิมพ์ คือ 1.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก 2.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก 3.พระซุ้มกอพิมพ์กลาง 4.พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก 5.พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ เนื้อพระซุ้มกอคล้ายคลึงกับเนื้อพระรอด เนื้อพระคงกรุเก่า ด้วยสร้างเวลาไล่เลี่ยกัน พระซุ้มกอถูกขุดพบโดย พระยากำแพงเพชร (น้อย) ขณะที่ทำการรื้อเจดีย์เก่า 3 องค์ และมีพระพิมพ์อื่นที่แตกกรุคราวเดียวกัน เช่นพระกำแพงลีลา พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงเปิดโลก



พระเอก อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ ศรัทธาพระซุ้มกอและพระรอดมหาวัน

พระเอก อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ ศรัทธาพระซุ้มกอและพระรอดมหาวัน 
คงไม่ต้องสาธยายอะไรมากท่านผู้อ่านก็คงทราบดีว่าพระเอกที่ชื่อ “อ๊อฟ” พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง เป็นคนดังระดับใดเพราะตลอด “กว่า 20 ปี” ที่อยู่ในวงการบันเทิงพระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” อาศัยฝีมือทางด้านการแสดงที่เรียกว่า “คุณภาพ ล้วน ๆ” จึงยืนหยัดในวงการมาได้ถึงปัจจุบันที่นอกจากรับงานแสดงแล้วยังผันตัวเองเป็นทั้ง “ผู้จัดละคร” พร้อม “ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย” และ “ผู้กำกับการแสดง” ไปด้วยในตัวโดยอาศัยประสบการณ์ที่แสดง “ภาพยนตร์” และ “ละคร” ซึ่งหากนับรวมกันแล้วก็ประมาณกว่า “ร้อยเรื่อง” มาทำงานเบื้องหลังเพราะผลงานการแสดงของเขาหลายเรื่องที่คว้า “รางวัล” ทางด้านการแสดงมาครองจากหลายสถาบันและล่าสุดก็อยู่ระหว่างการดำเนินงานถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “แฮปปี้เบิร์ธเดย์” ที่นำนักแสดงรุ่นน้องมาแสดงนำหลายคน
พระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” นอกจากจะเป็น “นักแสดง” มากฝีมือและ “นักจัดละคร” ชั้นดีพร้อม “นักสร้างภาพยนตร์” ชั้นยอดแล้วยังเป็น “นักสะสมพระเครื่อง” ตัวยงอีกคน ปัจจุบันจึงมี “พระเครื่องชั้นดี” อยู่ในความครอบครอง “หลายสิบองค์” ส่วนเหตุใดจึงนิยมสะสมพระเครื่องนั้น “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” เผยว่า “เนื่องจากมีแผ่นดินเกิดเป็นชาวจังหวัดกำแพงเพชร เมืองที่มีกรุพระชั้นเยี่ยมและพระชั้นดีหลากหลายสกุล อาทิ “พระซุ้มกอ, พระกำแพงเม็ดขนุน, พระนางพญากำแพง ฯลฯ” จึงได้เห็นพระเครื่องชั้นดีเหล่านี้มาตั้งแต่เด็กประกอบกับ “นิสัยของคนไทยเรา” ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันกับพระเครื่องมาแต่ไหนแต่ไรก็เลยสนใจสะสมพระเครื่อง พร้อมทำการศึกษาตามแต่โอกาสจะอำนวย ประจวบกับมีเพื่อนที่เป็นนักสะสมพระเครื่องชื่อดังระดับเซียนซึ่งก็คือ “เทพ กำแพง” ก็เลยได้อาศัยทำการศึกษาหาความรู้ด้านพระเครื่องที่เป็น “พระยอดนิยม” แทบทุกตระกูลจึงเกิดความชำนาญกับการดูพระพอสมควร ปัจจุบันจึงมีพระชั้นดีที่สะสมไว้ทั้ง “พระสมเด็จ, พระรอดวัดมหาวันลำพูน, พระซุ้มกอกำแพงเพชร, พระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์” ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสะสม “เครื่องรางของขลัง” ประเภท “ตะกรุด” ของหลายคณาจารย์และที่จะต้องนำติดตัวตลอดก็คือ “ตะกรุดสาลิกาเนื้อเงินหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง”
ส่วนทางด้าน “ระเครื่อง” ที่อาราธนาขึ้น แขวนติดคอเป็นประจำก็มีหลายองค์ โดยจะแขวนหมุนเวียนกันไปนับตั้งแต่ “พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก” ซึ่งนอกจากเป็นหนึ่งในห้าของ “พระเบญจภาคี” ประเภทเนื้อดินและเนื้อผงแล้วยังเป็น “ยอดพระ” ของเมืองกำแพงเพชรบ้านเกิดอีกด้วยจึงให้ความ “ศรัทธา” อยู่ในระดับต้น ๆ แถมเป็นองค์ที่ “สวยสมบูรณ์มาก” ประกอบกับมีขนาดเล็กเหมาะกับการแขวนคอเป็นอย่างดี และอีกองค์ที่อาราธนาติดตัวควบคู่กันไปเป็น “พระรอดวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่เนื้อเขียว” ที่สภาพก็ “สวยมาก” เช่นกันประการสำคัญเป็นองค์ที่หา “ข้อยุติได้” เพราะทุกเซียนต่างยอมรับว่า “แท้” จึงมักจะอาราธนาขึ้นแขวนคอสลับสับเปลี่ยนกันไปและอีกองค์ก็คือ “พระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์” ที่มักจะอาราธนาแขวนคอบ่อยที่สุดเนื่องจากการ “แขวนพระ” ของพระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” ก็มีคติเฉกเช่นชาวไทยพุทธทั่ว ๆ ไปคือนำเป็น “เครื่องยึดเหนี่ยว” ไม่  ให้ประพฤติในสิ่งที่ “ผิด  ศีลธรรม” ตามแบบอย่างของผู้มี “พระพุทธอยู่ในตัว” ก็จะต้องมี “พระธรรมอยู่ในใจ” ควบคู่กันไป
และอีกประการที่พระเอก  “พงษ์พัฒน์” ยึดถือและ ยึดมั่นกับการที่จะอาราธนา “พระเครื่องขึ้นแขวนคอ” ประการแรกต้องเรียนรู้ด้วยว่าพระเครื่องแต่ละองค์ “ถูกโฉลก” กับเราแค่ไหน ทั้งนี้ก็เพราะพระเครื่อง     บางองค์มี “ราคาแพง” แต่หาก “ไม่ถูกโฉลก”  กับผู้อาราธนาติดตัวหรือผู้เป็น “เจ้าของ” แล้วก็จะ ไม่มีประโยชน์อะไรโดยวัดผลได้ตรงที่หากทำการทำงานใด ๆ แล้ว “ไม่ราบรื่น” จึงสู้นำพระเครื่อง “ราคาถูก” แต่ถูกโฉลกกับผู้อาราธนาติดตัวจะดีกว่าเนื่องจาก “ชีวิตคนเรา” แต่ละชีวิตจะมีความแตกต่างกันไป อย่างเช่น บางคนขยันทำมาหากิน หนักเอาเบาสู้แต่รายได้ก็ชักหน้าไม่ถึงหลังผิดกับบางคนที่วัน ๆ ไม่ต้องทำมาหากินอะไรมากก็มีรายได้เป็นกอบเป็นกำก็เพราะ “กรรมเก่าเขาดี” ชีวิตจึงได้รับแต่สิ่งดี ๆ ฉะนั้นหากใครประสงค์ที่จะมีชีวิตที่ดีใน “ชาติหน้า” แล้ว ชาตินี้ก็ควรทำ “กรรมดี” ให้มาก ๆ แล้วกรรมดีนั้นจะติดตามเราไปทุกชาติเอง นอกจากเก่งทางด้าน “การแสดง” แล้วยังนับได้ว่าพระเอก “พงษ์พัฒน์” ก็เก่งทาง ด้าน “ปรัชญาชีวิต” เช่นกัน ฉะนั้นหากเชื่อก็ปฏิบัติตาม หากไม่เชื่อก็ “ตัวใครตัวมัน” แล้วกันนะโยม !!.เดลินิวส์ ภวันตุเม


ข้อข้องใจเกี่ยวกับพระนางพญาพระซุ้มกอพระรอดที่ได้รับคำตอบไม่แท้


ก่อนอื่นขอบอกว่าผมไม่มีเจตนาล่วงเกินพี่ๆทีมงานคือผมไม่เข้าใจ ผมก็ดูเนื้อพระนางพญาพระซุ้มกอ พระรอดอีกครั้งเนื้อก็ยุบยับย้นตามพื้นผนังและซอกผิวพระ  มีว่านดอกมะขามผุดจากเนื้อ  รารักตามซอกพระก็มีแบบเป็นย่อมๆหนาไม่เท่ากันโดยเฉาะนางพญาเม็ดกรวดทรายก็มีขนาดเท่าๆกันและเห็นแร่เม็ดสีชมพูอ่อน(แร่รัตนชาติ)ในเนื้อพระ  ในพระซุ้มกอมีบาง(1-2จุด)พระรอดก็เห็นมีแร่สีชมพู สีขาวบาง(1-2จุด)  และจุดตำหนิในพระทั้ง3แบบโดยเฉพาะพระรอดผมได้มา10กว่าปีจากพะเยาบ้านแฟนเก่าลุงแฟนปลดจากคอ(ลุงมี3องค์สีส้ม เขียว น้ำตาลอ่อน)ผมถามแท้มั้ยลุงบอกไม่รู้ดูเอาผมก็ดูไม่เป็นณ.ตอนนั้นคือนั่งกินเบียร์ด้วยกันลุงให้องค์สีส้มแต่ผมชอบองค์สีเขียวเลยได้สีส้ม นอกเรื่องไปหน่อยมาต่อกันที่ตำหนิพิมพ์พระรอดผมได้อ่านบทความของอ.อรรคเดชนักวิชาการอิสระ(นามสกุลจำไม่ได้)เรื่องตำหนิพิมพ์(18จุด) ธรรมชาติความเก่าของผิวพระที่อายุพันกว่าปีที่พระรอดต้องมีเช่นฟิลม์บนผิวพระ รอยยับย่นตามผนังพื้น ผิวหนังกระเบนและที่สำคัญสนิมในเนื้อพระลักษณะเป็นสีเขียวขี้ม้าเกิดขึ้นทั่วไปทั่วองค์ส่วนตำหนิเฉพาะในพิมพ์ใหญ่เช่นความลาดเอียงโพธิแถวในลาดเอียงเข้าหาโพธิแถวนอกแต่มีระดับสูงต่ำใกล้กัน(ทั้งซ้ายขวาขององค์พระ) กิ่งโพธิแถวนอกเหนือเศียรชี้สุูงสุด ด้านซ้ายองค์พระตั้งแต่พระกรรณลงไปโพธิแถวนอกเทลาดเอียงเข้าหาโพธิแถวในจะเห็นด้วยตาเปล่า(ของปลอมยังทำไม่ดี) เส้นพิมพ์แตกที่หน้าผากซ้ายรอยครูดที่แก้มซ้าย(พระรอดที่ว่าแท้ของเซียนบางคนไม่เห็นมี) ปากพระเหมือนปากปลากัดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเลียนแบบยาก  โดยเฉพาะเส้นแตกที่พระกรรณซ้ายที่ว่าแท้ของพระรอดผมว่าไม่เป็นธรรมขนาดใหญ่เกินจนมองเห็นด้วยตาเปล่าเส้นต้องเล็กเหมือนรากถั่วและเส้นแตกที่ใต้ข้อศอก2จุด(ไม่ใช่1จุด)หรือที่เรียกเส้นน้ำตกที่ใต้ฐานชั้นแรกลักษณะตัวyคว่ำ2-3ตัวเป็นเส้นพริ้วที่่ฐานและขนาดของฐานชั้นแรกถึงชั้นล่าง(ใหญ่ไปหาเล็ก) จข้างหลังต้องกดปรืดเดียวรวมถึงเนื้อพับใต้ฐานจะเห็นรอยนิ้วมือเป็นรอยเดียวกันเป็นต้นผมไม่ได้เข้าข้างตัวเองว่าพระของผมน่าแท้ผมวิเคาะห์บนพื้นฐานหลักความจริงและอ้างอิงบทความของอ.อรรคเดช(ท่านพิสูนท์แล้วแต่เซียนส่วนใหญ่ไม่เชื่อไม่รู้ทำไม)และว่านดอกมะขามที่มีบนผิวพระนั้นผมอยากเรียกว่านเม็ดมะขาม (สีและลักษณะ)เป็นแร่เหล็กไหลชนิดหนึ่งในผิวพระรอดของผมก็มีและผมเคยเอาแม่เหล็กดูดผลปรากฎว่าดูดติดผมใช้วิธีนี้กับพระดินเผาพระกรุที่มีว่านชนิดนี้  ผมจึงมีข้อข้องใจ  จึงขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับและผมว่ายังมีเพื่อนสมาชิกท่านอื่นข้องใจเหมือนกันและน่าจะเป็นประโยชน์  ข้อความใดผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับและสมาชิกท่านใดมีข้อมูลหรือเห็นแย้งก็บอกได้นะครับผมชอบและขอขอบพระคุณทางทีมงานล่วงหน้าด้วยความเคารพจากใจจริง(ผมอยากเอาพระไปให้ทีมงานดูจริงๆจะได้ฟันธงแท้ไม่แท้ผมไม่รู้ที่อยู่)


เคยสงสัยลาย กนก ของ พระกำแพงซุ้มกอ กันไหมครับว่าด้านซ้ายกับขวาไม่เหมือนกัน

ผมลองส่องและคิดหาเหตุผลว่า ทำไม รวดลายของพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกด้านซ้ายและขวาถึงไม่เหมือนกัน เคยสงสัยกันไหมครับ ผมว่าการที่ครูบาอาจารย์ท่านจะทำอะไรต้องมีเหตุผลนะครับ รวดลายของพระซุ้มกอก็เหมือนกัน ผมคิดว่ารวดลายต้องมีความเกี่ยวพันธ์กับพระพุทธเจ้า แน่นอน จากการที่ผมพิจราณา ผมมีความเห็นว่า  น่าจะเป็นลาย"พญานาค"ครับ เพราะไม่น่าจะเป็นลายอื่นนอกจากนี้ (ผมไปเจอบางเวบวิเคราะห์ว่าเป็นลายไม้เลื้อยมีดอกไม้อยู่ทางขวาองค์พระแล้วทำไมบานแค่ดอกเดียวจริงไหมครับ) ซึ่งผมวิเคราะห์ว่าด้านหัวอยู่ทางขวามือขององค์พระ และด้านซ้ายมือคือส่วนหางครับซึ่งจะไม่อยู่สูงกว่าพระเศรียรของพระพุทธเจ้ามันน่าจะเป็นไปได้ใช่ไหมครับ แล้วพญานาคตัวนี้เกี่ยวเนื่องอะไรกับพระพุทธเจ้าครับ เพราะเขาสร้างมาแค่ตัวเดียว เพราะถ้าเป็น พญานาคมุจลิน ก็ต้องเป็นพิมพ์นาคปรกใช่ไหมครับ ตรงนี้ต้องถามคนที่ศึกษาพุทธประวัติ

แล้วลองมาวิเคราะห์กันต่อ ถ้าจะเขียนลวดลายพญานาคแบบโบราณก็ต้องเป็นลายกนกใช่ไหมครับเส่นสายต้องสวยงาม แล้วเราลองมาดูองค์นี้กัน(ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดนะครับแค่กรณีศึกษาครับ)ว่าทำไมเส่นสายถึงเป็นม้วนๆไม่เป็นรูปเป็นทรงเลยครับ ไม่มีความคมชัดของลายเส่นเอาเสียเลย ทั้งๆที่องค์พระยังมี หู ตา จมูก ปาก ติดชัดเจน  เหตุที่เอาองค์นี้มาเพราะเท่าที่ศึกษาดูในเวบอ้างพิมพ์ถึงองค์นี้กันเยอะจริงๆ ลายกนกที่เหมือน "หนังสติก ตรงไหลขวาขององค์พระทำตามมากันเป็นแถว" จริงๆลายมันไม่ใช่แบบนี้
" />
ไม่ต้องเชื้อผมนะครับ ผมแค่สงสัยเฉยๆ ถ้ามันเป็นจริงๆอย่างที่ผมคิด ประวัติศาสตร์เราโดนเปลี่ยนมาแน่นอนครับ จะเนื่องด้วยอะไรก็แล้วแต่ ไม่เกี่ยวกับผม มมมมม..มมม ฮ่า ฮ่า ฮ่า
โดยส่วนตัว ผมว่าพระองค์นี้เหมือนปั้นขึ้นมาใหม่ไม่ใช่พระพิมพ์ เพราะสมัยก่อนตอนนั้นเขาก็เล่นแร่แปรถาตุกันแล้วพิมพ์ที่ใช้กดพระไม่น่าจะเป็นดินหรอกนะครับน่าจะเป็นโลหะมากกว่าเพราะเขาไม่ได้สร้างแค่องค์เดียวเขาพิมพ์กันเป็นหมื่นเป็นแสนองค์ซึ่งต้องมีความคมชัดกว่านี้ อีกอย่างจะว่าเป็นฝีมือชาวบ้านมาช่วยช่างหลวงสร้างก็ไม่น่าใช่เพราะว่าพระมหากษัตย์เป็นคนจัดสร้าง มุมมองส่วนตัวนะครับ ที่กล้าคิดเพราะพระองค์นี้ไม่ได้อยู่ประเทศไทยแล้ว.......อิอิ แต่ถึงอยู่ก็ไม่กลัว..



http://group.wunjun.com/25amulet/topic/371560-11525

พระซุ้มกอกำแพงเพชร แม่แบบของพระสมเด็จวัดระฆัง



หนึ่งในเบญจภาคีที่ผู้คนแสวงหาในราคาหลักล้านคือพระซุ้มกอ กำแพงเพชร หรือพระกำแพงซุ้มกอ ซีงเป็นที่เลื่องลือกันว่า “ใครมีแล้วไม่จน) แต่ถ้าซื้อกันเป็นล้าน ๆ ก็ต้องจนแน่ ๆ ยกเว้นมหาเศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้จึงไม่จน แต่คนจน ๆ หรือรวยยังไม่พอก็แสวงหาพระซุ้มกอ หรือกลุ่มพระเบญจภาคี หวังว่าโชคดีมีมหาเศรษฐีมาขอซื้อ แต่จะมีเศรษฐีไหนเล่ามาขอซื้อ บรรดาท่านเศรษฐีเขาเชื่อเซียนพระ เวลาเขาหาของแพงเขาก็ไปบอกเซียนพระหาให้ หรือไม่ก็ไปประมูลในงานประกวดพระเครื่องที่บรรดาเซียนพระเขาจัดขึ้น ถึงยามตกทุกข์ได้ยาก เอาไปขายคืน เซียนพระเจ้าเดิมส่องไปส่องมา บอกว่าของเก๊ เฮ้อ...กรรม
แต่เซียนพระก็มีทั้งดีทั้งเลว เหมือนกันทุกวงการ ขอให้รู้จักเลือกสรร แต่ถ้าศึกษาดี ๆ ตาถึง ก็ไม่จำเป็นต้องหาของแพงจากเซียนพระ ไปหาส่องดูตามแผงพระต่างจังหวัด จะได้ของดี เพราะของที่อยู่กับแผงพระต่างจังหวัดมักจะมาจากพระบ้าน บนหิ้งบูชา ที่ตกทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย ลูกหลานเหลนโหลนไม่รู้คุณค่า หรือติดการพนัน ติดยา ติดเกมส์ ก็แอบเอามาขายให้เจ้าของแผงพระ และเจ้าของแผงพระบ้านนอกก็ไม่มีความรู้อะไรมาก ได้มาก็ปล่อยไปในราคาหลักร้อยหลักพัน แล้วแต่จะตกลงกันตามความพอใจ ผมหาพระก็ใช้วิธีนี้ ได้พระดี ๆ มามากมายในราคาไม่แพง
พระตระกูลกำแพงเพชรนี่มีมากมาย หลากหลายพิมพ์ หลากหลายตระกูล หลากหลายกรุ เป็นจังหวัดที่มีพระเครื่องตามกรุมากที่สุด เพราะเป็นเมืองโบราณ ที่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ยุคสุโขทัยให้ความสนใจพระพุทธศาสนามากที่สุด จึงสร้างวัดและสร้างพระบรรจุไว้ตามกรุมากที่สุด ตามความเชื่อว่า เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา เป็นการต่ออายุของตนเอง เป็นการสร้างบารมีให้ตนเอง เป็นการสร้างทางสวรร์ให้ตนเอง
คนสมัยโบราณคงไม่ได้คิดสร้างพระมาพกแขวนประจำตัว เวลาออกศึกก็มักใช้คาถาอาคม ผ้ายันต์ สักยันต์ลายเต็มตัว หรือหาเหล็กไหลไพลดำตามธรรมชาติ แต่พระเครื่องท่านสร้างบรรจุตามเจดีย์เอาบุญหนุนส่งขึ้นสวรรค์ หรือสร้างไว้ป้องกันบ้านเมือง แม้ตามบ้านก็ไม่ได้มีพระพุทธรูป ไม่ได้มีหิ้งพระ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธรูปต้องอยู่ในโบสถ์วิหาร ใครนำมาไว้ในบ้านเป็นขึด ผู้ที่มีพระพุทธรูป หรือพระเครื่องไว้ในบ้านหรือประจำตัว มีแต่เจ้าฟ้ามหาเกษัตริย์เท่านั้น เพราะเป็นของสูง การแขวนพระพกพระ และแสวงหาพระเครื่องมาพกพาเพิ่งเกิดขึ้นในยุครัตนโกสินทร์นี่เอง
แม้พระกำแพงซุ้มกอก็สร้างบรรจุกรุไว้ป้องกันบ้านเมืองและเสริมสร้างบุญบารมีของกษัตริย์และราชวงศ์ เวลาสร้างก็มักจะสร้างพร้อมกับพระประธานในโบสถ์วิหาร หรือพระเจดีย์ เมื่อเสร็จก็ทำพิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดาอารักษ์ ฝ่ายพระสงฆ์ก็สวดมนต์ภาวนา 7 วัน 7 คืน จึงเสร็จพิธี แล้วนำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในกรุ ซึ่งอาจเป็นเจดีย์ หรือใต้พระประธาน หรือในพระอุระของพระประธาน เป็นต้น การที่มีการขุดค้นพบตรงนั้นตรงนี้ แสดงว่าสถานที่แห่งนั้นอาจเป็นเจดีย์เก่า หรืออุโบสเก่า
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ มีด้วยกันหลายพิมพ์คือ

    1. พิมพ์ใหญ่ แยกเป็น 2 ชนิดคือ แบบมีลายกนก และไม่มีลายกนก

    2. พิมพ์กลาง

    3. พิมพ์เล็ก

    4. พิมพ์เล็กพัดโบก

    5. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ






เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้






    1. เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด

    2. เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน

    3. เนื้อชินเงิน





สองเนื้อหลัง คือเนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก






พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก