วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานพระเครื่อง กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ ทุ่งเศรษฐี
            พระตระกูลทุ่งเศรษฐีคือ สุดยอดของพระเครื่องที่มีชื่อลือเลื่องที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร จัดเป็นเพชรน้ำเอกที่ทุกคนปรารถนาอยากจะได้ไว้ครอบครอง กล่าวกันว่าใครที่มีพระเครื่องทุ่งเศรษฐี ไว้เป็นสมบัติก็เหมือนผู้นั้นมีแก้วสารพัดนึก สุดยอดปรารถนาทีเดียวเพราะเป็นที่ได้รับความเชื่อ ความนิยม ปรากฏเด่นชัดกับผู้เป็นเจ้าของที่ปฏิบัติถูกต้อง ตามพิธีการมาแล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับความนิยม ความเมตตาสูง จะประสบโชคดี มีความก้าวหน้าในชีวิตจะป้องกันภยันตราย เภทภัยทั้งปวงให้หนักเป็นเบาหรือมลายหายไป ศัตรูจักเลิกคิดทำร้ายกลายเป็นเมตตาสงสาร ไม่ฝืดเคืองเรื่องเงินทองจะมั่งมีศรีสุขตามคำจารึกของคนโบราณว่า ใครมีกูไว้ไม่จน ความเชื่อ ความศรัทธานิยมเช่นนี้ทำให้ประชาชนเสาะแสวงหาเพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิต และอื่น ๆ ตามคำเล่าลือจนกระทั่งหากได้ยินชื่อเมืองกำแพงเพชรเมื่อไร ก็ให้คิดถึง พระทุ่งเศรษฐี
            พระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี ประกอบด้วยพระเครื่องหลายรูปแบบ
แบบพิมพ์ ทั้งสี่อิริยาบถ คือ ยืน เขย่ง นั่ง นอน แต่พระที่อยู่ในความนิยม รู้จักแพร่หลายทั่วเมืองไทย เป็นหนึ่งในเบญจภาคี คือ พระซุ้มกอ ซึ่งเป็นพระที่อยู่ในซุ้มอักขระหัวใจคาถา อุ นะ อุ ตามตำนานที่เล่าไว้ในหนังสือเสด็จประพาสต้นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ...พระศรีธรรมาโศกราชทรงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวม พระบรมธาตุมาสร้างเจดีย์บรรจุไว้ 84,000 องค์ ครั้งนั้นฤาษีผู้มีฤทธิ์คาถาอาคมแก่กล้า 11 ตน โดยมีฤาษีพิลาไลย ฤาษีตาไฟ และฤาษีตาวัว เป็นประธานแห่งฤาษีทั้งหลายสร้างพระพิมพ์ถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาและอุปการศาสนาถวายพระศรีธรรมาโศกราช
            แต่จากหลักฐาน คำบอกเล่าและที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่สามกล่าวว่า ผู้สร้างพระซุ้มกอเป็นฤาษีผู้มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง 11 ตนตรงตามตำนานแต่สร้างถวายเป็น พุทธบูชาบรรจุไว้ในเจดีย์พระธาตุทุ่งเศรษฐีในโอกาสสร้างเจดีย์ถวายพระมหากษัตริย์สมัยนั้นคือ เจ้าพระยาลิไท ในสมัยกรุงสุโขทัย
            ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรร่วมกับอาจารย์จิต  บัวบุศย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง ได้ให้คำอธิบายว่าเป็นลักษณะ ลัทธิมณญาณ ซึ่งอยู่ร่วม พ.ศ. 1600-1800 เป็นยุคที่มีการสร้างพระเครื่องรางของขลังตามพิธีกรรมไสยศาสตร์เร้นลับประกอบด้วยเวทมนต์คาถาอาคมของขลังและเคร่งครัดมาก และเชื่อว่าเป็นพระที่อยู่ในยุคสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น จากหลักฐาน พระเครื่องที่พบในเจดีย์มีลักษณะเป็นพุทธปฏิมากร ยุคกรุงสุโขทัยตอนต้น และสมัยเชียงแสนปะปนอยู่จำนวนมาก
            พระซุ้มกอมีหลายขนาด คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน (พิมพ์คะแนนนั้นทำเพื่อนับจำนวนหนึ่งในหนึ่งร้อย หรือหนึ่งในพัน)
            พระซุ้มกอมีหลายประเภท หลายสี มีทั้งสีแดง สีดำ สีขาวและสีเขียว ชนิดซุ้มกอดำ เป็นพระที่ไม่เผา องค์พระสร้างด้วย ใส้ในของเม็ดมะค่าผสมปูนกินหมาก ผงอิทธิเจดีย์ เกสรดอกไม้ 108 ชนิด  เชื่อกันว่า พระซุ้มกอดำมีอิทธิฤทธิ์ มีอานุภาพ ทางเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันสูงมาก (ส่วนพระซุ้มกอสีแดง สีขาวและสีเขียว เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์อานุภาพสูงทางเมตตามหานิยม)
ลักษณะองค์พระซุ้มกอดำเป็นพระนั่งสมาธิวางบนตัก ในลักษณะอมิตตพุทธ
(คล้ายพระพุทธรูปญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ส่วนพระซุ้มกอขาวและเขียว เป็นพระที่สร้างลักษณะไม่เผามีรักทาทั้งองค์ ต่างกับซุ้มกอแดงที่สร้างลักษณะเดียวกันแล้วนำไปเผาซัดด้วยว่านผงอีกครั้งองค์พระมีสีงดงามมันปูแข็งแกร่ง บางองค์ยังมีว่านติดอยู่ มีความแกร่งคงทนสภาพกว่าสีดำ สีขาว และสีเขียว พระซุ้มกอแดง เท่าที่พบส่วนมากจะมีหัวใจคาถาพุทธคุณ อุ นะ อุ อยู่พบส่วนน้อยที่ไม่มีลวดลายคาถาโดยพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวบ้านไร่ปากคลองกลาง ทั้งพระซุ้มกอดำ
ซุ้มกอแดง ซุ้มกอขาวและซุ้มกอเขียว ยังมีหลักฐานให้ผู้สนใจศึกษาได้
            การค้นพบพระซุ้มกอ จากหลักฐานและคำบอกเล่า แบ่งออกเป็นสองระยะคือ ในระยะแรกเมื่อครั้ง สมเด็จ    พุฒาจารย์(โต) ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร ได้พบศิลาจารึกแผ่นที่ 3 ที่วัดเสด็จ (ปัจจุบันศิลาจารึกอยู่ที่กรมศิลปากร) ซึ่งมีผู้นำมาจากวัดพระบรมธาตุ ซึ่งมีข้อความว่าที่ฝั่งตรงข้ามเมืองชากังราวมีเจดีย์  3  องค์  บรรจุพระบรมธาตุสารีริกธาตุซึ่งเจ้าพระยาลิไทให้
ราชบุรุษไปอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกาทวีป เมื่อวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา พ.ศ. 1900 ขณะนั้น เจ้าเมืองกำแพงเพชร คือ พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย)
ชักชวนประชาชนไปถางบริเวณดังกล่าวและได้พบพระบรมธาตุจำลอง จำนวน 3 องค์ ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักศิลา เมื่อทำการถางป่ารื้อส่วนที่ชำรุดออกก็พบ
พระเครื่องจำนวนมาก  ในจำนวนพระเครื่องดังกล่าวปรากฏว่ามีพระซุ้มกอสีดำ สีแดง สีขาวและสีเขียว (ขนาดพิมพ์ใหญ่อย่างเดียว) เป็นพระลักษณะนั่งสมาธิบัวด้านล่างเป็นบัวแบบสุโขทัยไม่มีลวดลายหัวใจ อุ นะ อุ มือวางประสาน บนตักแบบอมิตพุทธนอกจากนั้นพบใบลานเงินจารึก  พิธีการสร้างพระซุ้มกอคาถาหัวใจการสร้างพระและอื่น ๆ อีก ใบลานเงินนี้เล่ากันว่า สมเด็จพุฒาจารย์(โต)
นำไปสร้าง พระสมเด็จวัดระฆังที่โด่งดังทั่วเมืองไทยในภายหลังและได้เป็น
หนึ่งในเบญจภาคี เช่นเดียวกับ พระซุ้มกอระหว่างนั้นพระยาตะก่า พ่อค้าชาวกะเหรี่ยง ซึ่งทำไม้กับบริษัทบอเนียว จำกัด รับอาสาบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ ในหนังสือเสด็จประพาสต้น กล่าวว่าพระยากำแพง (น้อย) ได้จัดการค้นพบวัดและเจดีย์ 3 องค์ ตามอักษรโบราณในแผ่นศิลาจารึกจึงป่าร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางป่าปฏิสังขรณ์ขึ้น พระยากำแพง (อ่อง) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ฉซพอกะเหรี่ยง (ราษฎรเรียกพญาตะก่า) ขออนุญาตรื้อเจดีย์ 3 องค์ ทำใหม่เป็นองค์เดียว เป็นลักษณะเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพญาตะก่าตายก่อน น้องชายชื่อพะโป้ (มาทำป่าไม้) มาปฏิสังขรณ์ต่อ ยกฉัตรยอดซึ่งนำมาจากเมืองมรแหม่ง
เมื่อทำการรื้อเพื่อดำเนินการซ่อมจึงได้พบพระเครื่องอิริยาบถต่าง ๆ อีกมากมายพระซุ้มกอดำ พระซุ้มกอขาว และซุ้มกอเขียวพบที่วัดนี้ เจดีย์ 3 องค์ กลายเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เล็กทั้ง 3 องค์ไว้เป็นองค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุ ในวัดพระบรมธาตุปัจจุบันซึ่เป็นเจดีย์ ที่ชาวกำแพงเพชรถือเป็น โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา นับว่าเป็นเจดีย์ที่งดงามเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (ฝั่งนครชุม)  ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
            การค้นพบในระยะที่สอง ประมาร ฑ.ศ. 2490 โดยชางบ้านเขตทุ่งเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ นายนาค  บุญปรี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้พบพระซุ้มกอจำนวนมากมาย นายนาคได้เล่าว่า มีชีผ้าขาวชรามากท่านหนึ่งได้มาเล่าให้ฟังว่าที่บริเวณกอไผ่ใกล้ ๆ เจดีย์กรุบ้านเศรษฐีด้านเหนือนั้น ปู่ของชีผ้าขาวเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นที่ ๆ ยอดเจดีย์หักฟาดลงมา นายนาคจึงไปค้นหาที่กอไผ่ตามคำบอกเล่าก็พบพระซุ้มกอไฝ่ตามคำบอกเล่า ก็พบพระซุ้มกอมากมายทั้งบนดินและใต้ดินลึกไม่เกิน 2 วา เป็นพระลักษณะเชียงแสนอยู่ในลวดลายซุ้มอักขระ อุ นะ อุ ฐานล่างมีบัว 5 บัว แบบเชียงแสน พระพักต์และสีเนื้อ งดงามมากจากนั้นพระซุ้มกอเริ่มโด่งดังเป็นที่ สนใจของ ประชาชนทั่วไป ทุกคนไฝ่ฝันอยากจะได้เป็นเจ้าของ อยากได้สมบัติที่เชื่อกันว่า ล้ำค่ากว่าเงินทองทรัพย์สินอื่นใด และในไม่ช้า กอไผ่หนาทึบแห่งนั้นก็ราบหายวับไปรวมทั้ง เจดีย์น้อยใหญ่ บริเวณทุ่งเศรษฐี ถูกลักขุดพังทลายไปด้วยสุดที่ กรมศิลปากร จะป้องกันได้ พระที่ปรากฏขึ้นมามีทั้งสมบูรณ์และหักพังเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทุกชิ้นส่วนล้วนมีค่าเป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้น ทุกคนมีความเชื่อกันว่า แม้เศษหักของพระซุ้มกอ ก็ยังทรงอานุภาพจาก อิทธิฤทธิ์ของผง อิทธิเจดีย์ ซึ่งเวทมนต์คาถาอาคมขลังกำกับในการสร้าง ของ พระฤาษียุคนั้นทั้งนี้เกจิอาจารย์ชื่อดัง หลายท่านได้ทดสอบปลุกพระทดสอบอานุภาพก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ายังทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพ  เมตตามหานิยมสูงยิ่ง พระซุ้มกอทุ่งเศรษฐี กลายเป็นวัตถุมงคลที่มีค่าหายาก บูชากันด้วยเงินราคาสูงมากและของเทียมเลียนแบบก็มีตามกันมากมายคล้ายของจริงดูกันยากยิ่ง ยกเว้นจะทดลองปลุกจากพระเกจิอาจารย์ หรือจากผู้เชี่ยวชาญการดูเนื้อพระและดูศิลปะประกอบ


พระซุ้มกอ

พระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีแหล่งกำเนิดมาจากกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชร คือ วัดพระบรมธาตุ วัดพิกุลวัดทุ่งเศรษฐี และวัดซุ้มกอ วัดทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิง เมืองนครชุม ในบริเวณทุ่ง เศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เนื้อดินเผาทั้งหมด มีสีแดง สีดำ และสีเขียว มีทั้งแบบยืนและแบบนั่งพุทธลักษณะเป็นศิลปแบบสุโขทัยยุคต้นมีอายุการสร้างประมาณว่ามากกว่า ๖๐๐ ปี
พระกำแพงทุ่งเศรษฐี พิมพ์นิยมในวงการมีอยู่ ๖ พิมพ์ ด้วยกันคือ
๑. พระลีลาทุ่งเศรษฐีพิมพ์เม็ดขนุน (แบบยืนปางลีลา)
๒. พระลีลาทุ่งเศรษฐีพิมพ์พลูจีบ ( แบบยืนปางลีลา)
๓. พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก ( แบบนั่งปางสมาธิมีลายกนกด้านข้าง)
๔. พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก ( แบบนั่งปางสมาธิไม่มีลายกนกด้านข้าง)
๕. พระซุ้มกอพิมพ์กลาง ( แบบนั่งปางสมาธิมีลายกนกด้านข้าง)
๖. พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ ( แบบนั่งปางสมาธิมีกรอบทรงกลมคล้ายขนมเปี๊ยะ)



พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่

พระซุ้มกอ” จากคำบอกเล่า สร้างโดยฤาษี 3 ตน คือ ฤาษีพิราลัย ฤาษีตาไฟ และฤาษีตาวัว ใช้ว่าน 1000 ชนิด เกสรนานาดอกไม้ 1000 ชนิด นำเอาผงว่านมาปั้นเป็นก้อน คลุกเคล้าผสมผงเกสรดอกไม้บด ดินบด พิมพ์เป็นพระซุ้มกอ นำไปเผาไฟด้วยไม้มงคล พระซุ้มกอ มีกรุต่าง ๆ ได้แก่ กรุวัดพิกุล กรุฤาษี กรุทุ่งเศรษฐี กรุซุ้มกอมี 5 พิมพ์ คือ 1.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก 2.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก 3.พระซุ้มกอพิมพ์กลาง 4.พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก 5.พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ เนื้อพระซุ้มกอคล้ายคลึงกับเนื้อพระรอด เนื้อพระคงกรุเก่า ด้วยสร้างเวลาไล่เลี่ยกัน พระซุ้มกอถูกขุดพบโดย พระยากำแพงเพชร (น้อย) ขณะที่ทำการรื้อเจดีย์เก่า 3 องค์ และมีพระพิมพ์อื่นที่แตกกรุคราวเดียวกัน เช่นพระกำแพงลีลา พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงเปิดโลก



พระเอก อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ ศรัทธาพระซุ้มกอและพระรอดมหาวัน

พระเอก อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ ศรัทธาพระซุ้มกอและพระรอดมหาวัน 
คงไม่ต้องสาธยายอะไรมากท่านผู้อ่านก็คงทราบดีว่าพระเอกที่ชื่อ “อ๊อฟ” พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง เป็นคนดังระดับใดเพราะตลอด “กว่า 20 ปี” ที่อยู่ในวงการบันเทิงพระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” อาศัยฝีมือทางด้านการแสดงที่เรียกว่า “คุณภาพ ล้วน ๆ” จึงยืนหยัดในวงการมาได้ถึงปัจจุบันที่นอกจากรับงานแสดงแล้วยังผันตัวเองเป็นทั้ง “ผู้จัดละคร” พร้อม “ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย” และ “ผู้กำกับการแสดง” ไปด้วยในตัวโดยอาศัยประสบการณ์ที่แสดง “ภาพยนตร์” และ “ละคร” ซึ่งหากนับรวมกันแล้วก็ประมาณกว่า “ร้อยเรื่อง” มาทำงานเบื้องหลังเพราะผลงานการแสดงของเขาหลายเรื่องที่คว้า “รางวัล” ทางด้านการแสดงมาครองจากหลายสถาบันและล่าสุดก็อยู่ระหว่างการดำเนินงานถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “แฮปปี้เบิร์ธเดย์” ที่นำนักแสดงรุ่นน้องมาแสดงนำหลายคน
พระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” นอกจากจะเป็น “นักแสดง” มากฝีมือและ “นักจัดละคร” ชั้นดีพร้อม “นักสร้างภาพยนตร์” ชั้นยอดแล้วยังเป็น “นักสะสมพระเครื่อง” ตัวยงอีกคน ปัจจุบันจึงมี “พระเครื่องชั้นดี” อยู่ในความครอบครอง “หลายสิบองค์” ส่วนเหตุใดจึงนิยมสะสมพระเครื่องนั้น “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” เผยว่า “เนื่องจากมีแผ่นดินเกิดเป็นชาวจังหวัดกำแพงเพชร เมืองที่มีกรุพระชั้นเยี่ยมและพระชั้นดีหลากหลายสกุล อาทิ “พระซุ้มกอ, พระกำแพงเม็ดขนุน, พระนางพญากำแพง ฯลฯ” จึงได้เห็นพระเครื่องชั้นดีเหล่านี้มาตั้งแต่เด็กประกอบกับ “นิสัยของคนไทยเรา” ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันกับพระเครื่องมาแต่ไหนแต่ไรก็เลยสนใจสะสมพระเครื่อง พร้อมทำการศึกษาตามแต่โอกาสจะอำนวย ประจวบกับมีเพื่อนที่เป็นนักสะสมพระเครื่องชื่อดังระดับเซียนซึ่งก็คือ “เทพ กำแพง” ก็เลยได้อาศัยทำการศึกษาหาความรู้ด้านพระเครื่องที่เป็น “พระยอดนิยม” แทบทุกตระกูลจึงเกิดความชำนาญกับการดูพระพอสมควร ปัจจุบันจึงมีพระชั้นดีที่สะสมไว้ทั้ง “พระสมเด็จ, พระรอดวัดมหาวันลำพูน, พระซุ้มกอกำแพงเพชร, พระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์” ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสะสม “เครื่องรางของขลัง” ประเภท “ตะกรุด” ของหลายคณาจารย์และที่จะต้องนำติดตัวตลอดก็คือ “ตะกรุดสาลิกาเนื้อเงินหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง”
ส่วนทางด้าน “ระเครื่อง” ที่อาราธนาขึ้น แขวนติดคอเป็นประจำก็มีหลายองค์ โดยจะแขวนหมุนเวียนกันไปนับตั้งแต่ “พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก” ซึ่งนอกจากเป็นหนึ่งในห้าของ “พระเบญจภาคี” ประเภทเนื้อดินและเนื้อผงแล้วยังเป็น “ยอดพระ” ของเมืองกำแพงเพชรบ้านเกิดอีกด้วยจึงให้ความ “ศรัทธา” อยู่ในระดับต้น ๆ แถมเป็นองค์ที่ “สวยสมบูรณ์มาก” ประกอบกับมีขนาดเล็กเหมาะกับการแขวนคอเป็นอย่างดี และอีกองค์ที่อาราธนาติดตัวควบคู่กันไปเป็น “พระรอดวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่เนื้อเขียว” ที่สภาพก็ “สวยมาก” เช่นกันประการสำคัญเป็นองค์ที่หา “ข้อยุติได้” เพราะทุกเซียนต่างยอมรับว่า “แท้” จึงมักจะอาราธนาขึ้นแขวนคอสลับสับเปลี่ยนกันไปและอีกองค์ก็คือ “พระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์” ที่มักจะอาราธนาแขวนคอบ่อยที่สุดเนื่องจากการ “แขวนพระ” ของพระเอก “อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” ก็มีคติเฉกเช่นชาวไทยพุทธทั่ว ๆ ไปคือนำเป็น “เครื่องยึดเหนี่ยว” ไม่  ให้ประพฤติในสิ่งที่ “ผิด  ศีลธรรม” ตามแบบอย่างของผู้มี “พระพุทธอยู่ในตัว” ก็จะต้องมี “พระธรรมอยู่ในใจ” ควบคู่กันไป
และอีกประการที่พระเอก  “พงษ์พัฒน์” ยึดถือและ ยึดมั่นกับการที่จะอาราธนา “พระเครื่องขึ้นแขวนคอ” ประการแรกต้องเรียนรู้ด้วยว่าพระเครื่องแต่ละองค์ “ถูกโฉลก” กับเราแค่ไหน ทั้งนี้ก็เพราะพระเครื่อง     บางองค์มี “ราคาแพง” แต่หาก “ไม่ถูกโฉลก”  กับผู้อาราธนาติดตัวหรือผู้เป็น “เจ้าของ” แล้วก็จะ ไม่มีประโยชน์อะไรโดยวัดผลได้ตรงที่หากทำการทำงานใด ๆ แล้ว “ไม่ราบรื่น” จึงสู้นำพระเครื่อง “ราคาถูก” แต่ถูกโฉลกกับผู้อาราธนาติดตัวจะดีกว่าเนื่องจาก “ชีวิตคนเรา” แต่ละชีวิตจะมีความแตกต่างกันไป อย่างเช่น บางคนขยันทำมาหากิน หนักเอาเบาสู้แต่รายได้ก็ชักหน้าไม่ถึงหลังผิดกับบางคนที่วัน ๆ ไม่ต้องทำมาหากินอะไรมากก็มีรายได้เป็นกอบเป็นกำก็เพราะ “กรรมเก่าเขาดี” ชีวิตจึงได้รับแต่สิ่งดี ๆ ฉะนั้นหากใครประสงค์ที่จะมีชีวิตที่ดีใน “ชาติหน้า” แล้ว ชาตินี้ก็ควรทำ “กรรมดี” ให้มาก ๆ แล้วกรรมดีนั้นจะติดตามเราไปทุกชาติเอง นอกจากเก่งทางด้าน “การแสดง” แล้วยังนับได้ว่าพระเอก “พงษ์พัฒน์” ก็เก่งทาง ด้าน “ปรัชญาชีวิต” เช่นกัน ฉะนั้นหากเชื่อก็ปฏิบัติตาม หากไม่เชื่อก็ “ตัวใครตัวมัน” แล้วกันนะโยม !!.เดลินิวส์ ภวันตุเม


ข้อข้องใจเกี่ยวกับพระนางพญาพระซุ้มกอพระรอดที่ได้รับคำตอบไม่แท้


ก่อนอื่นขอบอกว่าผมไม่มีเจตนาล่วงเกินพี่ๆทีมงานคือผมไม่เข้าใจ ผมก็ดูเนื้อพระนางพญาพระซุ้มกอ พระรอดอีกครั้งเนื้อก็ยุบยับย้นตามพื้นผนังและซอกผิวพระ  มีว่านดอกมะขามผุดจากเนื้อ  รารักตามซอกพระก็มีแบบเป็นย่อมๆหนาไม่เท่ากันโดยเฉาะนางพญาเม็ดกรวดทรายก็มีขนาดเท่าๆกันและเห็นแร่เม็ดสีชมพูอ่อน(แร่รัตนชาติ)ในเนื้อพระ  ในพระซุ้มกอมีบาง(1-2จุด)พระรอดก็เห็นมีแร่สีชมพู สีขาวบาง(1-2จุด)  และจุดตำหนิในพระทั้ง3แบบโดยเฉพาะพระรอดผมได้มา10กว่าปีจากพะเยาบ้านแฟนเก่าลุงแฟนปลดจากคอ(ลุงมี3องค์สีส้ม เขียว น้ำตาลอ่อน)ผมถามแท้มั้ยลุงบอกไม่รู้ดูเอาผมก็ดูไม่เป็นณ.ตอนนั้นคือนั่งกินเบียร์ด้วยกันลุงให้องค์สีส้มแต่ผมชอบองค์สีเขียวเลยได้สีส้ม นอกเรื่องไปหน่อยมาต่อกันที่ตำหนิพิมพ์พระรอดผมได้อ่านบทความของอ.อรรคเดชนักวิชาการอิสระ(นามสกุลจำไม่ได้)เรื่องตำหนิพิมพ์(18จุด) ธรรมชาติความเก่าของผิวพระที่อายุพันกว่าปีที่พระรอดต้องมีเช่นฟิลม์บนผิวพระ รอยยับย่นตามผนังพื้น ผิวหนังกระเบนและที่สำคัญสนิมในเนื้อพระลักษณะเป็นสีเขียวขี้ม้าเกิดขึ้นทั่วไปทั่วองค์ส่วนตำหนิเฉพาะในพิมพ์ใหญ่เช่นความลาดเอียงโพธิแถวในลาดเอียงเข้าหาโพธิแถวนอกแต่มีระดับสูงต่ำใกล้กัน(ทั้งซ้ายขวาขององค์พระ) กิ่งโพธิแถวนอกเหนือเศียรชี้สุูงสุด ด้านซ้ายองค์พระตั้งแต่พระกรรณลงไปโพธิแถวนอกเทลาดเอียงเข้าหาโพธิแถวในจะเห็นด้วยตาเปล่า(ของปลอมยังทำไม่ดี) เส้นพิมพ์แตกที่หน้าผากซ้ายรอยครูดที่แก้มซ้าย(พระรอดที่ว่าแท้ของเซียนบางคนไม่เห็นมี) ปากพระเหมือนปากปลากัดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเลียนแบบยาก  โดยเฉพาะเส้นแตกที่พระกรรณซ้ายที่ว่าแท้ของพระรอดผมว่าไม่เป็นธรรมขนาดใหญ่เกินจนมองเห็นด้วยตาเปล่าเส้นต้องเล็กเหมือนรากถั่วและเส้นแตกที่ใต้ข้อศอก2จุด(ไม่ใช่1จุด)หรือที่เรียกเส้นน้ำตกที่ใต้ฐานชั้นแรกลักษณะตัวyคว่ำ2-3ตัวเป็นเส้นพริ้วที่่ฐานและขนาดของฐานชั้นแรกถึงชั้นล่าง(ใหญ่ไปหาเล็ก) จข้างหลังต้องกดปรืดเดียวรวมถึงเนื้อพับใต้ฐานจะเห็นรอยนิ้วมือเป็นรอยเดียวกันเป็นต้นผมไม่ได้เข้าข้างตัวเองว่าพระของผมน่าแท้ผมวิเคาะห์บนพื้นฐานหลักความจริงและอ้างอิงบทความของอ.อรรคเดช(ท่านพิสูนท์แล้วแต่เซียนส่วนใหญ่ไม่เชื่อไม่รู้ทำไม)และว่านดอกมะขามที่มีบนผิวพระนั้นผมอยากเรียกว่านเม็ดมะขาม (สีและลักษณะ)เป็นแร่เหล็กไหลชนิดหนึ่งในผิวพระรอดของผมก็มีและผมเคยเอาแม่เหล็กดูดผลปรากฎว่าดูดติดผมใช้วิธีนี้กับพระดินเผาพระกรุที่มีว่านชนิดนี้  ผมจึงมีข้อข้องใจ  จึงขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับและผมว่ายังมีเพื่อนสมาชิกท่านอื่นข้องใจเหมือนกันและน่าจะเป็นประโยชน์  ข้อความใดผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับและสมาชิกท่านใดมีข้อมูลหรือเห็นแย้งก็บอกได้นะครับผมชอบและขอขอบพระคุณทางทีมงานล่วงหน้าด้วยความเคารพจากใจจริง(ผมอยากเอาพระไปให้ทีมงานดูจริงๆจะได้ฟันธงแท้ไม่แท้ผมไม่รู้ที่อยู่)


เคยสงสัยลาย กนก ของ พระกำแพงซุ้มกอ กันไหมครับว่าด้านซ้ายกับขวาไม่เหมือนกัน

ผมลองส่องและคิดหาเหตุผลว่า ทำไม รวดลายของพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกด้านซ้ายและขวาถึงไม่เหมือนกัน เคยสงสัยกันไหมครับ ผมว่าการที่ครูบาอาจารย์ท่านจะทำอะไรต้องมีเหตุผลนะครับ รวดลายของพระซุ้มกอก็เหมือนกัน ผมคิดว่ารวดลายต้องมีความเกี่ยวพันธ์กับพระพุทธเจ้า แน่นอน จากการที่ผมพิจราณา ผมมีความเห็นว่า  น่าจะเป็นลาย"พญานาค"ครับ เพราะไม่น่าจะเป็นลายอื่นนอกจากนี้ (ผมไปเจอบางเวบวิเคราะห์ว่าเป็นลายไม้เลื้อยมีดอกไม้อยู่ทางขวาองค์พระแล้วทำไมบานแค่ดอกเดียวจริงไหมครับ) ซึ่งผมวิเคราะห์ว่าด้านหัวอยู่ทางขวามือขององค์พระ และด้านซ้ายมือคือส่วนหางครับซึ่งจะไม่อยู่สูงกว่าพระเศรียรของพระพุทธเจ้ามันน่าจะเป็นไปได้ใช่ไหมครับ แล้วพญานาคตัวนี้เกี่ยวเนื่องอะไรกับพระพุทธเจ้าครับ เพราะเขาสร้างมาแค่ตัวเดียว เพราะถ้าเป็น พญานาคมุจลิน ก็ต้องเป็นพิมพ์นาคปรกใช่ไหมครับ ตรงนี้ต้องถามคนที่ศึกษาพุทธประวัติ

แล้วลองมาวิเคราะห์กันต่อ ถ้าจะเขียนลวดลายพญานาคแบบโบราณก็ต้องเป็นลายกนกใช่ไหมครับเส่นสายต้องสวยงาม แล้วเราลองมาดูองค์นี้กัน(ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดนะครับแค่กรณีศึกษาครับ)ว่าทำไมเส่นสายถึงเป็นม้วนๆไม่เป็นรูปเป็นทรงเลยครับ ไม่มีความคมชัดของลายเส่นเอาเสียเลย ทั้งๆที่องค์พระยังมี หู ตา จมูก ปาก ติดชัดเจน  เหตุที่เอาองค์นี้มาเพราะเท่าที่ศึกษาดูในเวบอ้างพิมพ์ถึงองค์นี้กันเยอะจริงๆ ลายกนกที่เหมือน "หนังสติก ตรงไหลขวาขององค์พระทำตามมากันเป็นแถว" จริงๆลายมันไม่ใช่แบบนี้
" />
ไม่ต้องเชื้อผมนะครับ ผมแค่สงสัยเฉยๆ ถ้ามันเป็นจริงๆอย่างที่ผมคิด ประวัติศาสตร์เราโดนเปลี่ยนมาแน่นอนครับ จะเนื่องด้วยอะไรก็แล้วแต่ ไม่เกี่ยวกับผม มมมมม..มมม ฮ่า ฮ่า ฮ่า
โดยส่วนตัว ผมว่าพระองค์นี้เหมือนปั้นขึ้นมาใหม่ไม่ใช่พระพิมพ์ เพราะสมัยก่อนตอนนั้นเขาก็เล่นแร่แปรถาตุกันแล้วพิมพ์ที่ใช้กดพระไม่น่าจะเป็นดินหรอกนะครับน่าจะเป็นโลหะมากกว่าเพราะเขาไม่ได้สร้างแค่องค์เดียวเขาพิมพ์กันเป็นหมื่นเป็นแสนองค์ซึ่งต้องมีความคมชัดกว่านี้ อีกอย่างจะว่าเป็นฝีมือชาวบ้านมาช่วยช่างหลวงสร้างก็ไม่น่าใช่เพราะว่าพระมหากษัตย์เป็นคนจัดสร้าง มุมมองส่วนตัวนะครับ ที่กล้าคิดเพราะพระองค์นี้ไม่ได้อยู่ประเทศไทยแล้ว.......อิอิ แต่ถึงอยู่ก็ไม่กลัว..



http://group.wunjun.com/25amulet/topic/371560-11525

พระซุ้มกอกำแพงเพชร แม่แบบของพระสมเด็จวัดระฆัง



หนึ่งในเบญจภาคีที่ผู้คนแสวงหาในราคาหลักล้านคือพระซุ้มกอ กำแพงเพชร หรือพระกำแพงซุ้มกอ ซีงเป็นที่เลื่องลือกันว่า “ใครมีแล้วไม่จน) แต่ถ้าซื้อกันเป็นล้าน ๆ ก็ต้องจนแน่ ๆ ยกเว้นมหาเศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้จึงไม่จน แต่คนจน ๆ หรือรวยยังไม่พอก็แสวงหาพระซุ้มกอ หรือกลุ่มพระเบญจภาคี หวังว่าโชคดีมีมหาเศรษฐีมาขอซื้อ แต่จะมีเศรษฐีไหนเล่ามาขอซื้อ บรรดาท่านเศรษฐีเขาเชื่อเซียนพระ เวลาเขาหาของแพงเขาก็ไปบอกเซียนพระหาให้ หรือไม่ก็ไปประมูลในงานประกวดพระเครื่องที่บรรดาเซียนพระเขาจัดขึ้น ถึงยามตกทุกข์ได้ยาก เอาไปขายคืน เซียนพระเจ้าเดิมส่องไปส่องมา บอกว่าของเก๊ เฮ้อ...กรรม
แต่เซียนพระก็มีทั้งดีทั้งเลว เหมือนกันทุกวงการ ขอให้รู้จักเลือกสรร แต่ถ้าศึกษาดี ๆ ตาถึง ก็ไม่จำเป็นต้องหาของแพงจากเซียนพระ ไปหาส่องดูตามแผงพระต่างจังหวัด จะได้ของดี เพราะของที่อยู่กับแผงพระต่างจังหวัดมักจะมาจากพระบ้าน บนหิ้งบูชา ที่ตกทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย ลูกหลานเหลนโหลนไม่รู้คุณค่า หรือติดการพนัน ติดยา ติดเกมส์ ก็แอบเอามาขายให้เจ้าของแผงพระ และเจ้าของแผงพระบ้านนอกก็ไม่มีความรู้อะไรมาก ได้มาก็ปล่อยไปในราคาหลักร้อยหลักพัน แล้วแต่จะตกลงกันตามความพอใจ ผมหาพระก็ใช้วิธีนี้ ได้พระดี ๆ มามากมายในราคาไม่แพง
พระตระกูลกำแพงเพชรนี่มีมากมาย หลากหลายพิมพ์ หลากหลายตระกูล หลากหลายกรุ เป็นจังหวัดที่มีพระเครื่องตามกรุมากที่สุด เพราะเป็นเมืองโบราณ ที่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ยุคสุโขทัยให้ความสนใจพระพุทธศาสนามากที่สุด จึงสร้างวัดและสร้างพระบรรจุไว้ตามกรุมากที่สุด ตามความเชื่อว่า เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา เป็นการต่ออายุของตนเอง เป็นการสร้างบารมีให้ตนเอง เป็นการสร้างทางสวรร์ให้ตนเอง
คนสมัยโบราณคงไม่ได้คิดสร้างพระมาพกแขวนประจำตัว เวลาออกศึกก็มักใช้คาถาอาคม ผ้ายันต์ สักยันต์ลายเต็มตัว หรือหาเหล็กไหลไพลดำตามธรรมชาติ แต่พระเครื่องท่านสร้างบรรจุตามเจดีย์เอาบุญหนุนส่งขึ้นสวรรค์ หรือสร้างไว้ป้องกันบ้านเมือง แม้ตามบ้านก็ไม่ได้มีพระพุทธรูป ไม่ได้มีหิ้งพระ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธรูปต้องอยู่ในโบสถ์วิหาร ใครนำมาไว้ในบ้านเป็นขึด ผู้ที่มีพระพุทธรูป หรือพระเครื่องไว้ในบ้านหรือประจำตัว มีแต่เจ้าฟ้ามหาเกษัตริย์เท่านั้น เพราะเป็นของสูง การแขวนพระพกพระ และแสวงหาพระเครื่องมาพกพาเพิ่งเกิดขึ้นในยุครัตนโกสินทร์นี่เอง
แม้พระกำแพงซุ้มกอก็สร้างบรรจุกรุไว้ป้องกันบ้านเมืองและเสริมสร้างบุญบารมีของกษัตริย์และราชวงศ์ เวลาสร้างก็มักจะสร้างพร้อมกับพระประธานในโบสถ์วิหาร หรือพระเจดีย์ เมื่อเสร็จก็ทำพิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดาอารักษ์ ฝ่ายพระสงฆ์ก็สวดมนต์ภาวนา 7 วัน 7 คืน จึงเสร็จพิธี แล้วนำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในกรุ ซึ่งอาจเป็นเจดีย์ หรือใต้พระประธาน หรือในพระอุระของพระประธาน เป็นต้น การที่มีการขุดค้นพบตรงนั้นตรงนี้ แสดงว่าสถานที่แห่งนั้นอาจเป็นเจดีย์เก่า หรืออุโบสเก่า
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ มีด้วยกันหลายพิมพ์คือ

    1. พิมพ์ใหญ่ แยกเป็น 2 ชนิดคือ แบบมีลายกนก และไม่มีลายกนก

    2. พิมพ์กลาง

    3. พิมพ์เล็ก

    4. พิมพ์เล็กพัดโบก

    5. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ






เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้






    1. เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด

    2. เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน

    3. เนื้อชินเงิน





สองเนื้อหลัง คือเนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก






พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก


พระซุ้มกอ พิมพ์จากแร่ศักดิ์สิทธิ์ แร่เหล็กน้ำพี้ จ.อุตรดิตถ์

ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย
  1. พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”
  2. พิมพ์กลาง
  3. พิมพ์เล็ก
  4. พิมพ์เล็กพัดโบก
  5. พิมพ์ขนมเปี๊ย
พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที
ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”
  • พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
  • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
  • พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
  • พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
  • พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
  • พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว
ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279

จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี
พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ
  1. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
  2. พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
  3. พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
  4. พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้
  • เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  • เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
  • เนื้อชินเงิน
  • เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก
พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
  • พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
  • พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
  • พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ
พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก
ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง
ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ " พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก

เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ
ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ
  1. พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
  2. พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
  3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
  4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
  5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
  6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
  7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
  8. ซอกแขนลึก
  9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
  10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย
  เหล็กน้ำพี้  จากตำราพิชัยสงคราม กล่าวไว้ดังนี้
1. เหล็กน้ำพี้เป็นของขลัง  มีของดีในตัวเองทุกอนูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
2. เหล็กน้ำพี้เป็นของอาถรรพณ์ เร้นลับ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ทุกๆ อณู
3. เหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กอาถรรพณ์ ใช้ล้างอาถรรพณ์ได้นับนานาประการ แม้ผู้มีวิชาคงกระพันชาตรีเพียงไร เหล็กน้ำพี้สามารถฟาดฟันได้ทั้งหมด
4. เหล็กน้ำพี้สามารถป้องกันภูติผีปีศาจได้ วิญญาณ ภูติผี ปีศาจไม่กล้าเข้าใกล้
5. เหล็กน้ำพี้กันมนต์ดำ วิชาเดรัจฉานวิชา ป้องกันได้
ผู้ที่นำพกติดตัวจะป้องกันสิ่งเลวร้ายได้ตลอดกาลแล้ว ยังเป็นวัตถุมงคลเมตามหานิยมอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแก้กันโรคภัยไข้เจ็บ ปกป้องคุ้มครองตนเองให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่างๆได้ทั้งปวง



ประวัติการสร้าง พระกำแพงซุ้มกอ กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติการสร้าง พระกำแพงซุ้มกอ กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณ ปรากฏหลักฐานในจารึกตำนาน พงศาวดาร กล่าวถึงในเมืองชื่อต่างๆหลายชื่อได้แก่ เมืองชากังราว ซึ้งสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่บริเวณตัวเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันเมืองนครชุม ปรากฏในศิลาจารึกนครชุม โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ราวๆปีพ.ศ. ๑๙๐๐ เมืองเทพนคร ปรากฏในตำนานสิหนวัติกุมาร พงศาวดารโยนก รู้จักกันในนามบ้านคนฑี นอกจากนี้ ยังมีเมืองไตรตรึงษ์ เมืองแปบ เมืองสุพรรณภาว เมืองแสนตอ และเมืองบางพาน ส่วนพระกำแพงอื่นๆ มักจะพบกระจายอยู่ทั่วไป เช่น พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนหน้าเงินหน้าทอง จะพบที่วัดป่ามืด พระกำแพงลีลาพลูจีบหน้าเงินหน้าทอง จะพบที่วัดพระแก้ว พระกำแพงลีลากลีบจำปา จะพบที่วัดวังพระธาตุ กรุท่าเสากระโดง พระกำแพงลีลาปากเป็ด จะพบที่กรุฤาษี เจดีย์กลางทุ่ง พระกำแพงลีลาหน้าเงินหน้าทอง จะพบที่วัดพระบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย พระนางกำแพงพิมพ์ลูกแป้งเดี่ยว-ลูกแป้งคู่ พบที่กรุตาลดำ กรุผู้ใหญ่เชื้อ พระกำแพงท่ามะปรางค์ พบที่วัดช้างรอบ วัดป่ามืด วัดอาวาสใหญ่ วัดอาวาสน้อย วัดเซิงหวาย พระกำแพงลีลากล้วยปิ้ง พบที่กรุผู้ใหญ่เชื้อ พระกำแพงเม็ดมะเคล็ด พบที่กรุวัดช้างรอบ พระกำแพงขาโต๊ะ พบที่วัดสี่อริยาบถ วัดอาวาสใหญ่ วัดอาวาสน้อย วัดช้างเป็นต้น 
สำหรับพระเครื่องกำแพงเพชรที่นิยมอย่างสูงมักจะพบบริเวณกรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพิกุล กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุวัดซุ้มกอ  ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง อันเป็นที่ตั้งเมืองนครชุมเก่า หรือบริเวณที่เรียกว่าลานทุ่งเศรษฐี เกือบทั้งสิ้น 

http://www.wattabsai.com/banjapakee/prasumko.html

ผ่าตำหนิ พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่


ส่วนเมืองนครชุมมีปรากฏในศิลาจารึก ของ พระมหาธรรมราชาลิไทย มาก่อน พ.ศ. ๑๙๐๐ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ฝักใฝ่ ในพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงและสร้างสรรค์พุทธสถาน พระบูชา พระเครื่อง ไว้อย่างมากมาย จนตกทอดถึงปัจจุบัน

พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยมีบันทึกใน พระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประภาสเมืองกำแพงเพชร ปรากฏเรื่องราว ของเมืองกำแพงเพชร และพระเครื่องว่า

...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ ๕ ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ ๓ องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า

หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ

ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน

ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น ๑ ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งประกอบด้วย

- พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก

- พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ซุ้มกอดำ)

- พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

- พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก

- พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปียะ (ไม่ตัดปีก)

- พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พัดใบลาน

พระซุ้มกอ ที่นิยมมากสุด คือ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก ซึ่งเริ่ม มีการพบจากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และบรมธาตุ นครชุม เป็นพระดินเผา ที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามปรากฏทั่วองค์พระ

ความที่มีความละเอียดและเนื้อนิ่มมาก จึงให้พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มักจะหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่เหลือเป็นแบบที่สมบูรณ์ มีน้อยมากๆ ที่พบเห็นอยู่ในวงการจึงทำให้ความนิยม และ ราคาการเช่าหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เทียบได้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยทีเดียว

พุทธลักษณะพระกำแพงซุมกอ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร เป็นศิลปะเชียงแสนผสม กับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งนูนดูเด่นสง่างามมาก แบบเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้ง พระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้าย รูปตัว ก.ไก่ บางท่านว่า ซุ้มที่องค์พระเหมือนรูป ก.ไก่มาก จึงเรียกว่า พระซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ แบบไม่มีลายกนก แบบนี้เป็นพระชนิด เนื้อสีดำและสีเขียว ส่วนสีแดงก็มีบ้าง

พระกำแพงซุ้มกอสีแดงที่ไม่มีลายกนกนี้ พิมพ์ใหญ่มีน้อยมาก พระซุ้มกอดำ เป็นแบบที่มีประภามณฑล คล้ายรูปทรงของตัว ก. แบบอื่นๆ คือยังมีรูปทรง ตลอดจนประภามณฑ ลคล้ายพระพุทธรูป คันธารราฐมากที่สุดนั่นเอง

พระกำแพงซุ้มกอ แบบที่มีลายกนก แบบนี้เข้าใจว่าจะพัฒนา มาจาก แบบแรก คือมีลายบัว ที่ฐาน และการเปล่งรังสี ออกจาก พระวรกาย โดยทำเป็น รูปลายกนก อย่างงดงาม โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ ช่องพระพาหาลึก ทำให้พระอุระ และองค์พระ ซึ่งแลดูเด่นนูน อยู่แล้วดูสง่างามยิ่งขึ้น นอกจาก ชนิดพิมพ์ บางพิมพ์ เท่านั้นที่ช่องพระพาหาตื้น แบบนี้มีบางพิมพ์ ที่ทำเป็น สมาธิเพชร แต่ส่วนมากทำเป็นสมาธิราบทั้งนั้น

พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง





หลักการพิจารณาพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก มีตำหนิสำคัญ ดังนี้
๑.ขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ จะมีขนาดเล็กกว่าด้านขวาขององค์พระ
๒.ขอบกนกด้านข้างทางขวามือองค์พระเป็นขดวงกลม ๓ ขด
๓.ขอบกนกด้านบนขวามือองค์พระและซ้ายองค์พระจะเป็นเส้นโค้งงอนขึ้น และโค้งเข้าหากัน
๔.ขอบกนกด้านซ้ายมือขององค์พระเป็นรูปพญานาค หรือตัว “S” ในภาษาอังกฤษ
๕.ที่บริเวณกระจังหน้าบนเศียรพระมีรอยบุบของขอบกระจัง (มักเห็นในพระที่สมบูรณ์)
๖.หูทั้งสองข้างขององค์พระยาวจรดบ่า
๗.ซอกแขนทั้งสองข้างขององค์พระมีความลึกมาก
๘.เส้นอังสะ (ข้างเส้นสังฆาฏิ) จะตวัดซ้อนลึกเข้าไปในซอกรักแร้
๙.ประทับนั่งแบบมือขวาทับซ้าย ชัดเจน
๑๐.ฐานบัวเล็บช้างกลีบแรก (จากทางขวาขององค์พระ) โค้งจากด้านข้าง มาด้านหน้า

นี่คือตำหนิในแม่พิมพ์พระแท้ของพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ที่สำคัญมาก และสามารถนำมาใช้เป็นจุดวิเคราะห์ พระแท้ พระปลอม ได้ จึงนำเสนอไว้เป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้สนใจในพระพิมพ์นี้ ไว้ศึกษาเทียบเคียงกับพระที่ท่านมีโอกาสพบเจอในภายหน้าต่อไป

http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=922

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ จ.กำแพงเพชร กรุวัดบรมธาตุ

พระกําแพงซุ้มกอ เป็นพระกรุเนื้อดินผสมว่านเป็น ๑ ใน ๕ ของชุดเบญจภาคียอดนิยมชุดหลักของเมืองไทย หายากและมีราคาแพง ผู้สร้างคือ พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นศิลปะสุโขทัยผสมอิทธิพลศิลปะลังกา พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์รูปทรงโค้งมนอย่างเล็บมือ ด้านหน้าปรากฏองค์พระปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัวเล็บช้าง รอบพระเศียรมีเส้นรัศมี ลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ อันเป็นปฐมบทแห่งชื่อพระ"ซุ้มกอ" "มีกู ไม่มีจน" คือพุทธคุณของพระซุ้มกอ สําหรับองค์นี้ สภาพสวยสมบูรณ์ ไม่มีอุดซ่อม หรือศัลยกรรมใดๆทั้งสิ้น ร้าน "ธงชัยแอนติก" เปิดให้ท่านนักสะสม ใด้บูชาพร้อมตลับทองคำหนาฝังเพรชแท้อย่างดี "มีรูปซุ้มกอ องค์เจ้าเงาะ ราคา 30 ล้าน ซึ่งถูกเช่าไปโดยมหาเศรษฐีชาวฮ่องกงที่ชือ"ไลน์ ก็อตวิน"เปรียบเทียบให้ดูความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์  (ที่ร้านมี ๒ องค์ให้บูชาแล้ว ๑ องค์ เหลือองนี้องค์สุดท้าย)


            
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ จ.กำแพงเพชร กรุวัดบรมธาตุ(phra som kor pim yai wat phraborommthat kampangpetch  supporter of casting to assume that created by king maha dhammaraja approximately 700 years)



http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=709620&storeNo=6601





การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

 เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า
     
พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ
พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก
     ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง
     ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ "
     พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 
     เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

http://www.zabzaa.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD.htm

เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอ

เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้     เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด     เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน     เนื้อชินเงิน           *เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก      พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ      พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ      พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ      พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ      *ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก

http://www.zabzaa.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD.htm

พระซุ้มกอ พระกำแพงซุ้มกอ ประวัติพระซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย1. พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”2. พิมพ์กลาง3. พิมพ์เล็ก4. พิมพ์เล็กพัดโบก5. พิมพ์ขนมเปี๊ย - พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด- พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”- พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก- พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี- พระกำแพงซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ- พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย- พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้- พระกำแพงซุ้มกอจึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียวประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร      มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279      จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปีพระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ     พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก     พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก     พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง     พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
http://www.zabzaa.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD.htm

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ 
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
2.พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
3.พระนาสิกเป็นแท่งเหลี่ยม พระโอษฐ์เล็ก
4.พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
5.ยอดลำพระองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
6.กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
7.สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
8.ซอกแขนลึก
9.ชายจีวรยาวเข้าไปในซอกแขน
10.พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

http://siamamulet.blogspot.com/2008/02/blog-post_2542.html

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง 
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ลายกนกหลักๆยังพอเห็นหลายจุด
2.พระเกศจิ่มยังพอเห็นร่องรอย
3.เส้นซุ้มประภามณฑลรอบพระเศียรยังพอเห็นแผ่วๆ
4.แอ่งและรอยเว้าของพระเนตรขวาองค์พระยังปรากฏร่องรอย
5.ปลายบนและล่างสังฆาฏิยังเห็นแผ่วๆ
6.พระหัตถ์ที่ประสานสมาธิ อยู่ในอาการยกแอ่นขึ้น
7.ตรงกลางเข่าเป็นส่วนต่ำ พระบางองค์จะเว้าเป็นแอ่ง
8.บัวอาสนะยังเห็นชัด
พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

http://siamamulet.blogspot.com/2008/02/blog-post_2542.html

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ องค์บิ๊กแจ๊ส ค่านิยม ๖ล้าน

พระซุ้มกอกำแพงเพชรจัดเป็นพระเครื่องที่สุดยอดสกุลหนึ่ง และเป็นอันดับหนึ่งของจ.กำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ และถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย  ทำจากเนื้อดินผสมว่าน ๑๐๘  และเกสรดอกไม้และทำจากเนื้อชินเงินก็มี พุทธลักษณะของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นองค์พระแกะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่องพุทธลักษณะอยู่ในยุคสมัยสุโขทัยนั่งขัดสมาธิมีลวดลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ และนั่งประทับอยู่บนดอกบัวเล็บช้างห้าดอก และ ส่วนของขอบพิมพ์พระจะโค้งมนมีลักษณะคล้ายๆ ตัว ก.ไก่ คนรุ่นเก่าๆ จึงเรียกตามลักษณะนี้ว่า “พระซุ้มกอ”
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒  สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย    
จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า อายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี ทั้งนี้ อ.ราม วัชรประดิษฐ์ นักประวัติศาสตร์ด้านพุทธศิลป์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง เจ้าของ  www.aj-ram.com และผู้ดำเนินรายการ "รู้ให้จริงกับ อ.ราม" ช่อง "Home channel" พูดถึงทำไมต้องล้างพระ ก็ต้องตอบว่า เพราะพระเปื้อน หรือมีอะไรต่อมิอะไรปกคลุมสภาพพระเอาไว้ เช่น เมื่อนำ"พระมาห้อยคอ" ก็มี เหงื่อไคล คราบสกปรก ฝุ่นละออง ขี้เกลือ ฯลฯ หรือ "พระออกจากกรุ" ก็จะมี ดิน ทราย ขี้กรุ คราบกรุ หินปูน สนิม ราดำ รักน้ำเกลี้ยง รักดิบ เป็นต้น
องค์บิ๊กแจ๊ส3"การล้างพระเนื้อดิน" ที่ทำลายสถิติการล้าง จนสนนราคาก่อนและหลังล้างห่างกันหลายพันลี้ ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก เนื้อสีแดง ที่วงการเรียกกันว่า "องค์เจ้าเงาะ" ล้างโดย ท่านอาจารย์เชียร ธีระศานต์ เชื่อไหมครับ อาจารย์เชียรล้างตั้ง ๑๑ ครั้ง กว่าจะ "เห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน รูปเงาะนั้นใส่ให้คนหลง ใครๆ ไม่เห็นรูปทรง พระเป็นทองทั้งองค์อร่ามตา" ที่คลุมท่านไว้น่ะเขาเรียกว่า ราดำ เป็นพืชชนิดหนึ่ง ถ้าพระไม่แท้ราดำจะไม่ขึ้นหรอกนะครับ คนล้างก็เก่งทิ้งราดำไว้นิดๆ เป็นการการันตีว่าของแท้แน่นอน ต่างชาติเช่าไปราคาตั้งห้าสิบล้านนะครับ
สำหรับภาพพระองค์ครูวันนี้ เป็นภาพพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง หรือ บิ๊กแจ๊ส ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบชน.) ทั้งนี้ นายสมภพ ไทยธีระเสถียร หรือ อั๊ง เมืองชล อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และประธานชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย หนึ่งในกรรมการตัดสินพระชุดเบญจภาคี ที่คร่ำหวอดในวงการพระเครื่องมาเกือบ ๔ ทศวรรษ  บอกว่า  พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์บิ๊กแจ๊สมีการประค่านิยมไว้อย่างน้อยต้องมี ๖ ล้านบาทเท่านั้น

′ต้อย เมืองนนท์′เผยสูตรส่อง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีลายกระหนกเป็นพระที่รับศิลปะแบบลังกา มีประภามณฑล และมีซุ้มที่เราเรียกว่าซุ้มกระหนก

นายวิศาล เตชะวิภาค หรือเซียน ต้อย เมืองนนท์ อธิบายหลักของการพิจารณา ไว้ดังนี้


1.ขอบซุ้มด้านขวาหนากว่าด้านซ้าย

2.ขอบบนปลิ้นออกมาและอูม

3.ประภามณฑลหรือส่วนโค้งๆ รอบเกศมีลักษณะเหมือนลิ่ม หรือหมอนขวาน คือฐานใหญ่บนเล็ก มีความคม

4.ประภามณฑลด้านขวาไม่จรดไหล่ แต่ด้านซ้ายจรดที่ไหล่

5.ปลายเกศคล้ายดอกบัว มีรอยหลักบุ๋มลงไป ไม่เป็นแท่ง 

6.มีเส้นที่หน้าผาก มีกำไลคอทุกองค์

7.หูด้านขวาติดลึกกว่าหูด้านซ้าย

8.หน้าอกกว้างใหญ่ ในซอกแขนจะลึกมาก ลึกแบบเหว

9.นั่งสมาธิมือขวาทับมือซ้าย มือประสานคล้ายก้ามปู

10.ในซอกแขนด้านขวา ชายผ้าสังเกตเห็นชัดเจน แต่ชายผ้าที่ซ้อนเข้าไปใต้รักแร้อยู่ต่ำกว่าราวนม 

11.ในซอกแขนรักแร้ด้านซ้ายสังเกตเห็นก้อนเล็กๆ ติดอยู่ด้านใน

12.ชายผ้าสังฆาฏิพาดเลยบ่า

13.อกใหญ่ เอวคอด เอว 2 ข้างมีรอยครูดเป็นเหลี่ยมขึ้นมา ไม่มน 

14.เข่าสองข้างนูนโหนก บางองค์เลยกรอบออกไป

15.ปลายเท้าด้านบนมีรอยเว้าระหว่างนิ้วเท้า ไม่เป็นแท่ง ส่วนนิ้วเท้าจะกระดกงอขึ้นมา

16.บัวด้านล่างเห็นชัดอยู่ 5 กลีบ แต่จริงๆ มี 7 กลีบ

17.ซุ้มเถาวัลย์ยอดบนลึกที่สุด เห็นก้านซุ้มชัดเจน

18.ตัวซุ้มกระหนกด้านขวา มีลักษณะเหมือนตัวอักษรอังกฤษและตัวเลข C 6 G ซุ้มด้านซ้ายลักษณะจะคล้ายหัวพญานาค

19.ซุ้มด้านซ้ายปลายเถาวัลย์เหนือไหล่แตกออก 2 แฉก

20.การตัดกรอบ หลังจะเล็กกว่าด้านหน้า

21.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่เป็นพระที่แก่เกสรและว่านจนมองเห็นว่านดอกมะขามสีแสดๆ ส้มๆ ได้อย่างชัดเจน

22.จุดสำคัญของพระซุ้มกอทุกองค์จะมีว่านดอกมะขามและรารักที่เป็นจุดดำๆ ตามซอกที่เกิดโดยธรรมชาติ เกิดจากเนื้อ และเกิดจากความเก่าที่อยู่ในกรุ

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09USTJPREU1TXc9PQ==&sectionid=

พลิกปูมวัดบรมธาตุนครชุมส่อง"พระซุ้มกอ"พิมพ์ใหญ่

วัดพระบรมธาตุนครชุม ตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำจังหวัด

เป็นต้นกำเนิดของ "พระซุ้มกอ" 1 ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีอันขึ้นชื่อลือลั่น

ตามตำนานเล่าขานกันว่า เดิมทีเป็นพระธาตุเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ราวปีพ.ศ.1900 หรือประมาณ 600 ปีก่อน

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหารโบราณ วิหารพระนอน ศาลาเรือนไทย และศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน

ที่สำคัญคือ ต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าพระยาลิไททรงปลูก

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็น 1 ในโบราณสถานนครชุมที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนาน

เมืองนครชุมปรากฏในศิลาจารึกหลัก ที่ 3 (จารึกนครชุม) จารึกหลักนี้ ระบุศักราชตรงกับพ.ศ.1900 มีเนื้อหาว่าพระมหาธรรมราชาลิไทได้ทรงมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและปลูกต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาที่เมืองนี้ เดิมมีการอ่านตีความจารึกหลักนี้เป็นคำว่า "นครปุ"


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า นครปุ ที่ว่านี้น่าจะหมายถึงกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่มีบริเวณกว้างขวางนอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทิศเหนือ

แต่ในภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจสอบแล้วว่าน่าจะเคยปักอยู่ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งตะวันตกของเมืองกำแพงเพชรมาก่อน และมีการแก้คำอ่านเป็น นครชุม



นครชุมอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พบโบราณสถานแบบสุโขทัยจำนวนมาก อาทิ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ 

ในปีพ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เดินทางมากำแพงเพชรและพบซากปรักหักพังของเจดีย์ 3 องค์ ท่านจึงให้พระยาน้อย เจ้าเมืองกำแพงเพชรบูรณะเจดีย์ทั้ง 3 องค์

เมื่อรื้อเจดีย์ทั้ง 3 องค์ก็พบพระพุทธรูป กรุพระเครื่องต่างๆ มากมาย อาทิ พระทุ่งเศรษฐี พระท่ามะปราง พระพลูจีบ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก ที่สำคัญที่สุด คือพบพระซุ้มกอ มีหลากหลายพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

ส่วนพระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ นครชุม กล่าวถึงเรื่องราวของกรุพระเครื่องของวัดพระบรมธาตุ ว่า ตามตำนานการสร้างพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรจากจารึกลานเงินที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุเมืองนครชุม ค้นพบโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

มีใจความสำคัญว่า มีฤๅษี 11 ตน ฤๅษีเป็นใหญ่ 3 ตน ชื่อฤๅษีพิลาไลย ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตางัว คิดทำพระเครื่องถวายแด่พระยาศรีธรรมาโศกราช จึงไปนำวัตถุมงคลมาประกอบเป็นพระเครื่องปลุกเสกเป็นพระเครื่อง

พระราชวชิรเมธีเล่าว่า จากการที่เมืองกำแพงเพชรของเรามีพระดี ทำให้วัดทุกวัดกว่าร้อยวัด ถูกขุดไม่มีชิ้นดีในช่วง 80 กว่าปีที่ผ่านมา ราวพ.ศ. 2470 คนทุกสารทิศต่างมาล่าพระเครื่องเมืองกำแพงกันอย่างชุลมุน แม้จะผิดกฎหมาย แต่ไม่มีใครเกรงกลัว ต่างขุดกันจนทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุพินาศสิ้นแม้ในปัจจุบันปีพ.ศ.2550 ก็ยังมีการลักลอบขุดกันเนืองๆ

"มีผู้เฒ่าเล่าว่าผู้คนที่ขุดพบจะเอาเฉพาะพระบูชา ส่วนพระว่านหน้าทองนั้น ก็จะลอกเอาเฉพาะทองไปหลอมสิ้น เพื่อทำลายหลักฐาน ทิ้งองค์พระไว้ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ ปล่อยให้สลายไปตามธรรมชาติ ผู้ขุดพบพระว่านหน้าทอง เล่าว่าจะพบไม่มาก ในกรุๆ หนึ่ง พบทั้งพระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระพลูจีบ"

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09USTJPREU1TXc9PQ==&sectionid=

"ต้อย-เมืองนนท์" ติวเข้มส่อง"พระซุ้มกอ-พระรอด" ยอดปรารถนาตระกูล "เบญจภาคี"




ในบรรดาแวดวงผู้นิยมบูชาพระเครื่อง ต้องรู้จัก "พระเบญจภาคี" สุดยอดพระเครื่องซึ่งนักเลงพระต้องมีไว้บูชา

พระเบญจภาคี เป็นการรวมพระชั้นยอด 5 องค์ ประกอบด้วย พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี พระนางพญา พระซุ้มกอ พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน และพระสมเด็จที่ถูกจัดเข้าไปเป็นเบญจภาคีด้วย คือ สมเด็จวัดระฆัง และ สมเด็จบางขุนพรหม

ถือเป็นสุดยอดพระของแต่ละยุคสมัย และเป็นสุดยอดของพุทธคุณ เชื่อกันว่าผู้ใดได้ครอบครองผู้นั้นเปี่ยมด้วยวาสนา บารมี และด้วยเหตุนี้พระเบญจภาคีแท้ๆ จึงมีราคาเช่าสูงระดับ 6-7 หลักเลยทีเดียว เจ้าของจึงมักหวงแหนไม่ให้ใครชมกันง่ายๆ

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า เบญจภาคีที่เห็นตามร้านให้เช่าพระเครื่องเป็นของแท้?

เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (มติชนอคาเดมี) ร่วมกับ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จัดเปิดอบรมหลักสูตรพื้นฐานในการพิจารณาชุดเบญจภาคีไปแล้ว 2 ครั้ง โดยเชิญเซียนพระที่อยู่ในวงการผู้นิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาระดับต้น ′พิศาล เตชะวิภาค′ หรือ ′ต้อย เมืองนนท์′ อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และประธานชมรมพระเครื่องมรดกไทย เจ้าของศูนย์พระเครื่องชาวนนท์ บนชั้น 3 ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขางามวงศ์วาน จ.นนทบุรี มาเป็นวิทยากร





ต้อย เมืองนนท์ เป็นผู้ที่มีความรู้ เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาและสะสมพระเครื่องพระบูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระกรุประเภทต่างๆ ไม่เพียงแต่ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาภายในประเทศเท่านั้น แม้ในต่างประเทศก็ได้รับการยอมรับนับถือเช่นกัน

จากความสำเร็จในการอบรมพระสมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ และพระนางพญา จัดโดยมติชนอคาเดมี โดยมีต้อย เมืองนนท์ เป็นวิทยากรในครั้งก่อน จนได้รับเสียงตอบรับและชื่นชมจากผู้ที่เข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมาก เป็นที่มาของการเปิดอบรมหลักสูตรพื้นฐานในการพิจารณาชุดเบญจภาคี 3 พระกำแพงซุ้มกอและพระรอด ใน วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2556 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ณ หอประชุมข่าวสด หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

เซียนต้อยบอกว่า พระเบญจภาคีมีทั้งหมด 5 ชนิด ที่บรรยายไปแล้วก็จะมีพระผงสุพรรณ พระนางพญา สมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จที่ถูกจัดเข้าไปเป็นเบญจภาคีด้วย สมเด็จบางขุนพรหม ยังเหลือพระอีก 2 องค์ ก็คือ พระซุ้มกอ กับ พระรอด ซึ่งถือว่าเป็นพระที่คนไทยทั้งประเทศได้ยินชื่อแล้วก็รู้ รู้ว่านี้คือสุดยอดพระหายาก และมีความเข้าใจนะว่าพระรอดคือพระที่อยู่ในความนิยม ใครก็พูดถึงพระรอด อย่างพระซุ้มกอทุกๆ คนก็รู้

"พระทั้งสององค์นี้ จัดว่าอยู่สูงสุด เป็นพระในฝัน ถือว่าสุดยอดถ้าใครได้ครอบครอง ถ้าให้เปรียบก็เหมือนนักเล่นเพชร ถ้ามีเพชรเม็ดงามน้ำดี"

ที่ผ่านมาค้นพบไม่มาก อย่างพระซุ้มกอที่เป็นพิมพ์แท้ ไม่บิ่น ไม่ชำรุด เซียนต้อยประเมินว่ามีไม่เกิน 400-500 องค์ ขณะที่พระรอดจะมีมากกว่า แต่ไม่เกิน 1,000 องค์ จึงเป็นพระที่มีราคาสูง ผลก็คือ มีการทำเลียนแบบพระเก่ามากมาย

"พระเหล่านี้เป็นพระที่มีราคาสูง ของเก๊มันก็เหมือนเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นถ้ายังไม่ชำนาญและไม่มีความรู้จริง ถ้าไปเจอก็อย่าได้หุนหันพลันแล่นไปเช่า อย่าไปคิดว่าอันนี้ดี เราก็ตัดสินใจเช่า ซึ่งจริงๆ แล้วโอกาสที่จะฟลุค จะได้ของดีราคาถูกหรือแม้แต่แพงมันก็ลำบาก ทางที่ดีควรต้องศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน หาคนที่เขาเป็นและเราก็ไว้เนื้อเชื่อใจได้ช่วยดูให้เป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่ว่าเราเพิ่งเริ่มศึกษาใหม่ ไปหาเช่าของแท้ มันก็อาจจะเจอหรือไม่เจอบ้าง แต่มันก็ดีกว่าไม่ได้ศึกษาเลย"

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายนนี้ โดยจะบรรยายข้อสังเกตในการดูพระแท้แบบลงรายละเอียด แนะนำให้รู้จุดของพระแท้ว่าควรเริ่มต้นจากจุดใด รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้มากที่สุด พร้อมทั้งเปิดให้ผู้เข้าอบรมได้ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับพระกำแพงซุ้มกอและพระรอดจากวิทยากร

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามสำรองที่นั่งได้ที่ มติชนอคาเดมี โทร.0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2123, 2124

"อย่างน้อยก็ได้รู้เกี่ยวกับธรรมชาติพระเบญจภาคี พระซุ้มกอ พระรอด ว่าเป็นพระที่น่าศึกษามาก ไม่ใช่เพียงรูปร่างพระเท่านั้น แต่มันมีอะไรมากมาย มันมีทั้งศิลป์ทั้งศาสตร์อยู่ในองค์พระ" เซียนพระรุ่นใหญ่กล่าวทิ้งท้าย

จะได้ไขปริศนาว่าทำไมจึงแพง แล้วทำไมคนจึงนิยม